Page 59 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 59
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
2.2.4 ยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรมปี 2559-2564
แผนยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2559-2564 ฉบับนี้ จัดท าขึ้นเพื่อเป็นทิศทางการ
พัฒนาด้านอุตสาหกรรม และการด าเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรอบแนวคิดแผนยุทธศาสตร์ฯ นี้ให้
ความส าคัญต่อความสอดคล้องกับแผน และนโยบายในระดับต่างๆ ได้แก่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559 ประเด็นส าคัญตามมติ และข้อสั่งการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
นโยบายรัฐบาล (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) นโยบายรัฐมนตรีว่า การกระทรวงอุตสาหกรรม (นายจักรมณฑ์
ผาสุกวนิช) แผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พ.ศ. 2555-2574 รวมทั้งให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และ
บริบทการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งในด้านภาวะเศรษฐกิจและสังคมไทยในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงจุดยืนทางยุทธศาสตร์
ของกลุ่มจังหวัด (Positioning) ซึ่งแสดงถึงศักยภาพของพื้นที่ที่มีความต้องการในการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อ
ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรม และมุ่งไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง โดยใน
การพัฒนาอุตสาหกรรม จ าเป็นต้องผลักดันให้ภาคการผลิตมีความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ซึ่งการส่งเสริมและ
พัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานของประเทศ โดยการน าเอาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ
และนวัตกรรม มาประยุกต์ใช้จะก่อให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพ มูลค่า และมาตรฐานรวมถึงพัฒนาศักยภาพของ
ผู้ประกอบการให้มีความเข็มแข็ง และแข่งขันได้ในเวทีโลก ซึ่งสามารถท าได้โดยการพัฒนาปัจจัยสนับสนุน ทั้งใน
ด้านกฎหมาย และกฎระเบียบ การอ านวยความสะดวกในการประกอบกิจการ การรวมกลุ่มคลัสเตอร์และการบูร
ณาการนโยบาย/แผนงานกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะเอื้อให้เกิดการลงทุน และลดอุปสรรคในธุรกิจอุตสาหกรรม
นอกจากนี้การส่งเสริมสถานประกอบการที่เป็นมิตรต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม จะอาศัยการก ากับดูแลอย่างทั่วถึง
การถ่ายทอดองค์ความรู้และการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเป็นกลไกในการขับเคลื่อน อย่างไร
ก็ตาม สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การพัฒนาองค์กรและบุคลากรของกระทรวงอุตสาหกรรมให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและ
เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการอย่างต่อเนื่อง
1) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมเพื่อ
ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานของประเทศ โดยเน้นการใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มผลิตภาพและมาตรฐาน ให้ภาคอุตสาหกรรมมีความสามารถในการแข่งขันในระดับที่สูงขึ้น
โดยมีกลยุทธ์ที่ส าคัญ ดังนี้
- ประยุกต์ใช้ดิจิทัล วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการเพิ่มประสิทธิภาพ
การผลิตของภาคอุตสาหกรรม
- เสริมสร้างประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ และโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรมให้
มีความได้เปรียบในการแข่งขัน
- พัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรภาคอุตสาหกรรม
- เสริมสร้างศักยภาพการรวมกลุ่มของอุตสาหกรรมเป้าหมาย
ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้า 2 - 16