Page 54 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 54

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม


                  ของประเทศไทยจากเปลี่ยนแปลงในบริบทต่างๆ ในโลกและศักยภาพในการแข่งขันที่แท้จริงของประเทศไทยใน

                  ปัจจุบัน ซึ่งแบ่งกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
                                         1)  กลุ่มอุตสาหกรรมที่ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นฐานที่เข้มแข็งที่จะต่อยอดไปสู่

                  อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นก้าวหน้ามากขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนที่พัฒนาไปสู่ยานยนต์ใน
                  อนาคต อาทิยานยนต์ไฟฟ้าอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถพัฒนาไปสู่อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ

                  อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ที่สามารถต่อยอดการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ชีวภาพและพลาสติกชีวภาพ
                  อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารที่พัฒนาเป็นอาหารสุขภาพ อาหารสร้างสรรค์และอาหารส าหรับกลุ่มเฉพาะ

                  อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ซึ่งสามารถต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ อาทิผลิตภัณฑ์ยางล้อ ผลิตภัณฑ์พลาสติก

                  ชีวภาพ และอุตสาหกรรมที่ใช้ศักยภาพของทุนมนุษย์ อาทิอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ
                                         2)  กลุ่มอุตสาหกรรมอนาคตที่ใช้โอกาสจากบริบทใหม่ๆ ของโลกซึ่งอุตสาหกรรมทั้ง

                  สองกลุ่มมีแนวทางการพัฒนาหลักที่แตกต่างกัน ได้แก่ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์อัตโนมัติเพื่อสนับสนุนการเพิ่ม

                  ประสิทธิภาพของภาคการผลิตและบริการ โดยระยะแรกมุ่งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้ระบบอัตโนมัติ เพื่อกระตุ้น
                  ให้เกิดอุปสงค์ในประเทศที่ส่งผลให้เกิดแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการผลิต พัฒนา และออกแบบระบบอัตโนมัติและ

                  หุ่นยนต์ส าหรับการผลิต และธุรกิจบริการในอนาคต อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอากาศยาน โดยระยะแรกเน้นการผลิต

                  ชิ้นส่วนอากาศยานที่สามารถต่อยอดจากศักยภาพของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และขณะเดียวกันควรวาง
                  ระบบ และพัฒนาบุคลากรด้านการซ่อมบ ารุงอากาศยาน อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์

                  โดยในระยะแรกเน้นอุปกรณ์ และเครื่องมือที่มีปริมาณความต้องการใช้ในประเทศสูง และใช้เทคโนโลยีที่ยังไม่สูงนัก
                  ก่อนเพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการบริการสุขภาพนานาชาติ และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยใน

                  ขณะเดียวกันต้องวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีส าหรับการผลิตเครื่องมืออุปกรณ์ที่มีระดับความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

                  และอุตสาหกรรมพลังงานชีวภาพเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ สร้างมูลค่าเพิ่ม
                  ของสินค้าเกษตร และวัตถุดิบชีวมวล ซึ่งต้องให้ความส าคัญกับการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนเพื่อวางรากฐานการ

                  พัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมอนาคต


                         2.2.2 แผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ปี 2555-2574

                               แผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555-2574 ขึ้น เพื่อเป็นเข็มทิศในการพัฒนา
                  ผู้ประกอบการไทย และอุตสาหกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์โดยเนื้อหาของ

                  แผนแม่บทฯ ฉบับนี้ประกอบไปด้วย ภาพรวมของการพัฒนาของอุตสาหกรรมโลก ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรม

                  ของประเทศไทยเพื่อตอบสนองต่อมิติการพัฒนาใหม่ ผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ต่ออุตสาหกรรมไทย
                  นอกจากนี้ยังเน้นถึงเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยในอนาคต ทั้งในภาพรวม และ

                  ในอุตสาหกรรมรายสาขาที่ส าคัญ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในการเพิ่มขีดความสามารถ

                  และศักยภาพทางการแข่งขันในระดับนานาชาติเพื่อสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ ยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการ



                  ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                            หน้า 2 -  11
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59