Page 49 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 49
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนในกิจกรรมอุตสาหกรรม พ.ศ.2503 ท าให้
มีอุตสาหกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นจ านวนมาก เช่น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เป็นต้น (อภิคม ธรรมนาวรรณ, 2546)
แนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมในยุคแรกช่วง 2503 - 2512 เน้นกลยุทธ์การทดแทนการน าเข้า
(Import Substitution) ต่อมามีการส่งเสริมอุตสาหกรรมการส่งออกมากขึ้นภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติฉบับที่ 3 (2515 - 2519) และมีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมาอย่างต่อเนื่องหลายทศวรรษ ด้วยเพราะ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรและวัตถุดิบในการผลิตที่โดดเด่น มีค่าต้นทุนแรงงานต่ า มีนโยบายจาก
ภาครัฐในการสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมทุกขนาด แต่ด้วยผลกระทบจากสภาวะฟองสบู่แตกในปี พ.ศ.2540
ท าให้รัฐบาลและภาคเอกชนร่วมมือกันในการจัดท าแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมขึ้นในปี พ.ศ.2541 โดยการ
ร่วมกันวิเคราะห์ศักยภาพของไทยและขีดความสามารถในการแข่งขัน มีการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมออกเป็น
13 สาขา โดยระบุถึงจุดแข็งจุดอ่อน ข้อจ ากัดและโอกาสในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม (กระทรวงอุตสาหกรรม, 2554)
จากกระแสโลกาภิวัตน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2555 กระทรวงอุตสาหกรรม
โดยส านักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม จึงได้จัดท าแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พ.ศ. 2555-2574 เพื่อเป็น
เข็มทิศในการพัฒนาผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมไทยให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ภายใต้
ยุทธศาสตร์ยกระดับคลัสเตอร์อุตสาหกรรมและขยายเครือข่ายการผลิตสู่ต่างประเทศ รวมถึงการยกระดับศักยภาพ
ผู้ประกอบการให้เกิดความเข็มแข็งอย่างยั่งยืน และการยกระดับโครงสร้างสนับสนุนอุตสาหกรรมเพื่อการบริหาร
จัดการอุตสาหกรรมอย่างบูรณาการ ต่อมาได้มีการจัดท าแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการการเพิ่มประสิทธิภาพและ
ผลิตภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม พ.ศ. 2559 – 2564 เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาและการต่อยอด
อุตสาหกรรมไทยให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
ปัจจุบันกระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดท ายุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี
(พ.ศ. 2560 - 2579) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพทางการแข่งขันในระดับนานาชาติ เพื่อเป็นการสร้าง
รายได้เข้าสู่ประเทศ และเป็นการสร้างงานให้แก่ประชาชน รวมถึงเป็นการพัฒนาสังคมของประเทศไทยให้มีความ
มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยสามารถจ าแนกกลุ่มอุตสาหกรรมเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 3 กลุ่ม ตามมูลค่าทางเศรษฐกิจ และ
แนวโน้มในการเติบโตในอนาคต ได้แก่ กลุ่มที่ 1 อุตสาหกรรมต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-Curve)
กลุ่มที่ 2 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) และกลุ่มที่ 3 อุตสาหกรรมที่ควรปฏิรูป
ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้า 2 - 6