Page 46 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 46

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม


                  ตลาดและผู้บริโภคมีกระจายอยู่หลายจุด และแรงงานเป็นปัจจัยซึ่งเคลื่อนย้ายไม่ได้ โดยค่าจ้างแรงงานถูกก าหนดไว้

                  ตายตัว และมีแรงงานไม่จ ากัดจ านวน

                             จากสมมติฐานของ Alfred Weber สามารถสรุปปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกที่ตั้งโรงงาน

                  อุตสาหกรรมได้ 3 ปัจจัย ได้แก่ ค่าขนส่ง (Transportation Cost) ค่าจ้างแรงงาน (Labor Cost) และแรงผลักดัน
                  เพื่อการรวมกลุ่มของอุตสาหกรรม (Agglomerative Force) ดังนั้น การพิจารณาจากปัจจัยดังกล่าวสามารถอธิบาย

                  การเลือกที่ตั้งอุตสาหกรรม ณ จุดซึ่งเสียค่าขนส่งต่ าสุด (Least Transportation Cost Location)

                             ในการวิเคราะห์ที่ตั้งที่เหมาะสมของอุตสาหกรรม Alfred Weber ได้ใช้สามเหลี่ยมแหล่งที่ตั้ง

                  (Locational Triangle) แสดงผลการวิเคราะห์ที่ตั้งอุตสาหกรรมซึ่งเสียค่าขนส่งต่ าที่สุด โดยก าหนดที่ตั้งของตลาด
                  1 แห่ง อยู่บนยอดของสามเหลี่ยม และแหล่งวัตถุดิบ 2 แห่งอยู่ตรงฐานของสามเหลี่ยม จุดที่เป็นที่ตั้งของโรงงานซึ่ง

                  เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดจะอยู่ภายในรูปสามเหลี่ยมซึ่งมีระยะทางที่สั้นที่สุดที่เชื่อมระหว่างจุดทั้ง 3 นอกจากจะใช้
                  หลักการวิเคราะห์การเลือกที่ตั้งโดยพิจารณาค่าขนส่งแล้ว Alfred Weber ยังพิจารณาผลกระทบของการ

                  เปลี่ยนแปลงของค่าจ้างแรงงาน คือ อุตสาหกรรมจะเลือกที่ตั้งที่มีค่าจ้างแรงงานถูก ถ้าจะท าให้เกิดความประหยัด

                  ได้มากกว่าต้นทุนค่าขนส่งที่ เพิ่มขึ้นเมื่อย้ายจากที่ตั้งที่มีค่าขนส่งต่ าสุด และผลจากการรวมกลุ่มกันในการเลือกที่ตั้ง
                  อุตสาหกรรม คืออุตสาหกรรมจะมีแนวโน้มไปตั้งในแหล่งที่มีการรวมกลุ่มกันแทนที่บริเวณทีมีค่าขนส่งต่ าสุดได้ ถ้า

                  การรวมกลุ่มกันก่อให้เกิดการประหยัดและสามารถลดต้นทุนได้ต่ าสุดมากกว่าที่ตั้ง ณ ที่ตั้งที่มีค่าขนส่งและค่าจ้าง

                  แรงงานต่ าสุด โดยประโยชน์จากการรวมกลุ่มกันจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีหน่วยผลิตอย่างน้อย 3 หน่วย (เรวดี แก้วมณี,
                  2555)



























                                      ภาพที่ 2.1-2 แสดงสามเหลี่ยมแหล่งที่ตั้ง (Locational Triangle)

                     (ที่มา: http://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/article/Relocation_Myanmar.pdf.)






                  ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                             หน้า 2 -  3
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51