Page 47 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 47

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม


                             จากทฤษฎีท าเลที่ตั้งข้างต้น สามารถพิจารณาการจัดหาท าเลที่ตั้งอุตสาหกรรมในลักษณะแบบ ต้นน้ า

                  กลางน้ า ปลายน้ า นั่นก็คือ ต้นน้ า หมายถึงที่ตั้งควรเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบและแรงงานราคาถูก กลางน้ า
                  หมายถึงพื้นที่หรือที่ตั้งของอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันควรรวมตัวกันอยู่เพื่อความประหยัด ปลายน้ า หมายถึง

                  แหล่งที่ตั้งจะต้องไม่ห่างไกลจากผู้บริโภคมากจนท าให้ต้นทุนการขนส่งสูง ซึ่งทั้งหมดนี้คือปัจจัยส าคัญในการใช้
                  พิจารณาถึงศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ (เรวดี แก้วมณี, 2555)


                         2.1.3 แนวคิดเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town)


                                เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ หมายถึง ชุมชนอุตสาหกรรมที่ด าเนินธุรกิจ โดยมุ่งเน้นสู่การยกระดับ
                  คุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตชุมชนที่อยู่ร่วมสังคมโดยรอบ ด้วยความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกัน

                  และกันด้วยความตั้งใจ จริงใจ และจริงจัง (Ernest A. Lowe, 2001)

                                นอกจากนิยามที่แสดงไว้ข้างต้น การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยยังได้ให้ค าจ ากัดความของ

                  เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศไว้อีกว่า คือรูปแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนบนพื้นฐานความสมดุลของเศรษฐกิจ

                  สิ่งแวดล้อม สังคม ความสอดคล้องกับกฎหมาย และความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี ด้วยการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า
                  ปล่อยของเสียให้น้อยที่สุด การยอมรับจากชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชุมชน และสิ่งแวดล้อมด้วยการร่วมมือพึ่งพา

                  กันของผู้ประกอบอุตสาหกรรม (การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, 2555)

                                ทั้งนี้ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (2555) ยังก าหนดคุณลักษณะมาตรฐานการเป็น

                  เมืองอุสาหกรรมเชิงนิเวศ ประกอบด้วยคุณสมบัติต่างๆ รวม 5 มิติ 22 ด้าน ประกอบด้วย

                                        1) มิติด้านกายภาพ 3 ด้าน ดังนี้
                                               - พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม

                                               - ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

                                               - การออกแบบอาคารของโรงงาน
                                        2) มิติด้านเศรษฐกิจ 3 ด้าน ดังนี้

                                               - เศรษฐกิจของภาคอุตสาหกรรม (Economic Efficiency)
                                               - เศรษฐกิจท้องถิ่น (Economic Stability)

                                               - เศรษฐกิจชุมชน (Economic Equity)

                                        3) มิติด้านสิ่งแวดล้อม 9 ด้าน ดังนี้
                                               3.1) ขาป้อนเข้า หมายถึง ทรัพยากร การจัดการวัสดุ ประสิทธิภาพเชิงเศรษฐ

                  นิเวศ (Input-Resource/Material Management/Eco-efficiency)
                                                      - การบริหารจัดการทรัพยากร

                                                      - การบริหารจัดการพลังงาน




                  ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                             หน้า 2 -  4
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52