Page 44 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 44

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม


                                                              บทที่ 2

                              การรวบรวมและทบทวนแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโครงการฯ


                         กระบวนการศึกษาเพื่อจัดท าโครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของ

                  อุตสาหกรรม ของส านักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ในการที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ของ

                  ส านักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมให้มีศักยภาพด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศที่ทันสมัย และรองรับการขยายการใช้
                  งานระบบภูมิสารสนเทศในอนาคตครั้งนี้ ได้ถูกออกแบบขึ้นโดยอาศัยการทบทวนแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ

                  การศึกษาโครงการฯ เพื่อน ามาใช้เป็นฐานความคิด และน ามาพิจารณาการปัจจัยที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละ
                  พื้นที่ได้อย่างถูกต้องในขั้นตอนการก าหนดวิเคราะห์หาปัจจัยและค่าถ่วงน้ าหนักที่เหมาะสม รวมทั้งการทบทวน

                  นโยบายยุทธศาสตร์ การทบทวนเขตเศรษฐกิจพิเศษ และการทบทวนอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับ

                  การศึกษาโครงการฯ เพื่อน ามาพิจารณาประกอบการคัดเลือกเพื่อก าหนดอุตสาหกรรมน าร่องเป้าหมายที่ใช้ใน
                  การศึกษา รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกต่อผู้เชี่ยวชาญ เพื่อได้มาซึ่งปัจจัยที่จะน ามาใช้ในการศึกษาของ โครงการ

                  ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ของส านักงานเศรษฐกิจ

                  อุตสาหกรรม (สศอ.) ต่อไป โดยแนวคิดต่างๆ ที่น ามาใช้ในการศึกษามีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้


                  2.1 การทบทวนแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโครงการฯ

                         2.1.1 แนวความคิดของทฤษฎีแหล่งศูนย์กลาง (Central-place theory)


                                Walter Christraller (1933) นิยามแหล่งกลาง ว่าเป็นแหล่งตั้งถิ่นฐานในระดับชุมชน ซึ่งท าหน้าที่
                  เป็นศูนย์กลางในด้านการค้าและบริการแก่ประชากรในเมืองนั้นรวมทั้งลูกค้าที่กระจายอยู่รอบเขตตลาดหรือเขต

                  อิทธิพลของชุมชนนั้นด้วยเนื่องจากประชากรของศูนย์ ลูกค้า และสินค้าในแต่ละแหล่งกลางมีขนาดต่างๆ กัน จึงท า
                  ให้แหล่งกลางในพื้นที่หนึ่งๆ มีขนาดต่างกันเรียกว่ามีล าดับศักย์ (Hierarchy) ต่างกันแหล่งกลางที่จัดอยู่ในล าดับ

                  ศักย์สูงจะมีประชากรของเมืองมาก มีลูกค้า สินค้าและเขตตลาดมากกว่าแหล่งกลางที่อยู่ในล าดับศักย์ต่ ากว่า ซึ่ง

                  อาจหมายถึงหมู่บ้านทั้งขนาดและจ านวนของแหล่งกลางจะมีขนาดลดหลั่นกันลงไปตามล าดับศักย์ แต่จ านวนแหล่ง
                  กลางขั้นต่ าจะมีมากกว่าแหล่งกลางขั้นสูงในบริเวณหนึ่งๆ แบบจ าลองง่ายๆ ของ Walter Christraller จึงเป็นดังนี้

                  แหล่งตั้งถิ่นฐานต่ าสุดคือหมู่บ้าน อยู่ห่างเป็นช่วงๆ เท่ากันและล้อมรอบไปด้วยเขตตลาดรูป  6 เหลี่ยม ทุกๆ 6
                  หมู่บ้านจะมีแหล่งกลางที่ใหญ่กว่าตน 1 แห่ง คือ ศูนย์กลางต าบล (Township) ซึ่งจะอยู่ห่างจากอีกแห่งเป็นระยะ

                  เท่ากันอีก ต าบลจะมีเขตตลาดใหญ่ขึ้นเพราะต้องเพิ่มบริการซึ่งหมู่บ้านไม่มีเข้าไว้ด้วย เมื่อล าดับศักย์แหล่งตั้งถิ่น

                  ฐานสูงขึ้นไป สินค้าและบริการก็จะเพิ่มมากขึ้น ระยะห่างของแหล่งตั้งถิ่นฐานก็จะยิ่งไกลจากกัน เขตตลาดก็จะ
                  กว้างขึ้นเพราะประชากรหรือลูกค้าก็มากขึ้นเป็นล าดับ (อัญญาพร ถวิล, 2552)







                  ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                             หน้า 2 -  1
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49