Page 51 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 51
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
ด้านความร่วมมือเพื่อก่อให้เกิดความเข้มแข็งและการเจริญเติบโตทางธุรกิจของผู้ประกอบการทั้งในด้านแนวดิ่ง
(Vertical Growth) และแนวนอน (Horizontal Growth) ในแต่ละอุตสาหกรรม
2) ด้านเงื่อนไขอุปสงค์ในพื้นที่ (Home demand Conditions) อุปสงค์ในพื้นที่หรือ
ความต้องการของตลาดเป้าหมายของแต่ละสาขาอุตสาหกรรม (ตลาดภายใน และตลาดภายนอกประเทศ)
ตลอดจนการพิจารณาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง (Trend) ทั้งในด้านความต้องการ และรสนิยมของผู้บริโภคใน
ปัจจุบันและอนาคตที่ส่งผลต่อการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความส าคัญในการ
ก าหนดอุตสาหกรรมเป้าหมาย
3) ด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุน (Related and Supporting Industries)
การรวมกลุ่มอุตสาหกรรม (Cluster) ของอุตสาหกรรมหลัก อุตสาหกรรมสนับสนุน และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง
ถือเป็นสิ่งส าคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมและสนับสนุนการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรม ดังนั้น ในการ
ก าหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพในแต่ละพื้นที่ ควรค านึงถึงความสามารถในการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม
(Cluster) ทั้งในพื้นที่เป้าหมายและพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจนการศึกษารูปแบบการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม (Cluster)
ที่มีความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรมเป้าหมาย
4) ด้านเงื่อนไขปัจจัยการผลิต (Factory Conditions) ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม
ความพร้อมในด้านปัจจัยการผลิตถือเป็นกลไกส าคัญในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรม อาทิ
วัตถุดิบ และทรัพยากรธรรมชาติ แรงงาน เงินทุน ตลอดจนระบบสาธารณูปโภค เทคโนโลยีการผลิตและนวัตกรรม
และอื่นๆ ฯลฯ ดังนั้น ในการก าหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพจ าเป็นจะต้องพิจารณาถึงความพร้อมด้าน
ปัจจัยการผลิตทั้งในพื้นที่ และการเชื่อมโยงปัจจัยการผลิตกับพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจนการเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศ
เพื่อนบ้านในภูมิภาค
อย่างไรก็ตาม เห็นได้ว่าปัจจัยเหล่านี้ ล้วนมีบทบาทที่ส าคัญต่อความสามารถในการแข่งขันของ
อุตสาหกรรมต่างๆ นอกจากนี้ องค์ประกอบอีกประการหนึ่งที่ส าคัญ คือ ภาครัฐ เนื่องจากภาครัฐมีบทบาทส าคัญ
ในการผลักดันหรือกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการในแต่ละองค์ประกอบข้างต้น ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขัน
ของอุตสาหกรรมในที่สุด
2.1.6 แนวคิดการก าหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายในภูมิภาค
ซึ่งแนวคิดดังกล่าวได้ท าการประยุกต์กรอบแนวคิดและเกณฑ์การคัดเลือกอุตสาหกรรมเป้าหมาย
น าร่องภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พ.ศ. 2555 – 2574 และความสอดล้องกับแผนยุทธศาสตร์
ส่งเสริมการลงทุนของส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ต้องการส่งเสริมอุตสาหกรรมใน
รูปแบบคลัสเตอร์ รวมทั้งการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้า 2 - 8