Page 56 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 56

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม


                                      2)  อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นอุตสาหกรรมที่ไทยมีบทบาทในการเป็น

                  ผู้ผลิตตามเจ้าของตราสินค้าที่เป็นบริษัทข้ามชาติเข้ามาลงทุน จึงจ าเป็นต้องสร้างแรงงาน และโครงสร้างสนับสนุน
                  ให้มีความพร้อม เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง และขยายไปสู่การส่งเสริมการพัฒนา

                  อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และผลักดันให้เกิดการใช้วัตถุดิบจากภายในประเทศมากกว่าการน าเข้าจาก
                  ต่างประเทศ

                                      3)  อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม บทบาทของอุตสาหกรรมสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม
                  ไทยในปัจจุบันนั้นคือ การเป็นผู้รับจ้างผลิตจากค าสั่งผลิต แนวทางการพัฒนาจึงจ าเป็นต้องยกระดับขีด

                  ความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้น และสร้างความร่วมมือในการขยายเครือข่ายการผลิตไป

                  ยังผู้ประกอบการในภูมิภาค เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิต จากนั้นต้องส่งเสริมการยกระดับศักยภาพ
                  ของผู้ประกอบการไทยสู่การออกแบบ และการด าเนินการทางตลาดเพื่อสร้างตราสินค้าไทยให้เป็นที่ยอมรับใน

                  ระดับนานาชาติต่อไป

                                      4)  อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ในช่วงแรกนั้นต้องชักชวนผู้ประกอบการให้เข้าสู่
                  อุตสาหกรรมนี้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์ยาง เพราะในปัจจุบันประเทศไทย

                  จะมีการส่งออกยางค่อนข้างมาก แต่เป็นการส่งออกในรูปของน้ ายางซึ่งมีมูลค่าเพิ่มในตัวสินค้าค่อนข้างน้อย ซึ่ง

                  จ าเป็นต้องอาศัยการสนับสนุนการวิจัย และพัฒนาอุตสาหกรรมยางแปรรูป และน าไปสู่การสร้างตราสินค้าของไทย
                  ซึ่งจะเป็นการเพิ่มบทบาท และความส าคัญในอุตสาหกรรมยางในระดับโลกมากขึ้น ท าให้มีอ านาจในการต่อรอง

                  และก าหนดทิศทางราคายาง ตลอดจนการควบคุมกลไกการผลิตยางในอนาคตได้
                                      5)  อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการเป็นผู้ผลิต

                  และส่งออกในปัจจุบัน การก าหนดแนวทางการพัฒนานั้นจึงมุ่งหน้าสู่การสร้างภาพลักษณ์ และการปรับโครงสร้าง

                  สนับสนุนต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และน าไปสู่การเป็นผู้น าในการผลิต แปรรูป และสร้างมูลค่าเพิ่ม
                  ที่ส าคัญในระดับภูมิภาค และระดับโลกต่อไปในอนาคต

                                      6)  อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แนวทางการพัฒนาในระยะสั้นนั้นต้องเริ่มต้น
                  จากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างสนับสนุนให้มีความเหมาะสมต่อการประกอบการธุรกิจ โดยเฉพาะด้านแรงงาน และ

                  กฎระเบียบ และก้าวถัดมานั้นต้องมุ่งเน้นสู่การพัฒนาแหล่งวิจัยเทคโนโลยีการออกแบบสินค้าเพิ่มมากขึ้น รวมทั้ง

                  ขยายการตลาดไปในภูมิภาค และมุ่งสู่การสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าไทยให้มีมาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับในระดับ
                  สากล

                                      7)  อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ การพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์นั้นจ าเป็นต้องเริ่มต้นจากการ

                  สร้างแรงงานฝีมือเพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยแรงงานที่มีทักษะเฉพาะทาง ดังนั้นการสร้างแรงงานที่มีทักษะ
                  ความเชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะ จึงเป็นสิ่งส าคัญประการแรกที่ต้องด าเนินการ ตลอดจนการสร้างตลาดแม่พิมพ์

                  ในประเทศให้มีการเติบโตขึ้น แล้วขยายไปสู่การเป็นผู้รับจ้างผลิตแม่พิมพ์ส าหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งจากใน และ






                  ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                            หน้า 2 -  13
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61