Page 57 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 57

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม


                  นอกประเทศ ส่วนแนวทางการพัฒนาในระยะยาวนั้นจะสามารถเชื่อมโยงสู่การพัฒนาความเชี่ยวชาญใน

                  อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลได้เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกัน
                                      8)  อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน/ทดแทน เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมใหม่จึงต้องเร่ง

                  สร้างนโยบาย และมาตรการจูงใจผู้ประกอบการ ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี และเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้ง
                  การจัดตั้งหน่วยงานกลางที่ดูแลรับผิดชอบการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน/ทดแทนอย่างจริงจัง เพื่อ

                  น าไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน/ทดแทนอย่างต่อเนื่อง และปรับเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ซื้อ
                  เทคโนโลยีสู่การเป็นผู้ผลิตเครื่องจักร และเทคโนโลยีส าหรับอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน/ทดแทนต่อไปใน

                  อนาคต


                         2.2.3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ปี 2560-2579

                                กล่าวคือ กรอบแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย ซึ่งเป็นเครื่องยนต์

                  ส าคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ในระยะ 20 ปีข้างหน้า ตามกรอบการพัฒนาประเทศไทย 4.0
                  กระทรวงอุตสาหกรรม โดย ส านักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมไทย เป็นเครื่องยนต์ส าคัญที่

                  จะขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0

                  ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) จึงได้ก าหนดวิสัยทัศน์เพื่อ “มุ่งสู่อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาและ
                  เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก” โดยตั้งเป้าหมายการพัฒนาที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ

                  เป็นเป้าหมายการพัฒนาที่จะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถขยับสู่การเป็นประเทศรายได้สูงได้ภายในปี 2579 ตาม
                  เป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติโดยก าหนดเป้าหมายไว้ 5 ประการ ในอีก 20 ปีข้างหน้า คือ

                                -  ภาคอุตสาหกรรมไทยมีอัตราการเติบโตของ GDP เฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 4.5 ต่อปี

                                -  การลงทุนเติบโตเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี

                                -  มูลค่าการส่งออกของภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปี

                                -  ผลิตภาพรวม (Total Factor Productivity: TFP) ภาคอุตสาหกรรมเติบโตเฉลี่ยไม่น้อยกว่า

                                    ร้อยละ 2 ต่อปี

                                -  มีนักรบอุตสาหกรรมพันธุ์ใหม่ (New Warrior 4.0) จ านวน 150,000 ราย

                         ส าหรับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายภายใต้ยุทธศาสตร์ฯ จะมุ่งเน้น 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็นกลไก

                  ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต ตามที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว (First S- Curve and New S-Curve)

                  โดยจ าแนกเป็น 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังภาพที่ 2.1-5








                  ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                            หน้า 2 -  14
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62