Page 55 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 55

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม


                  ขนาดกลางและขนาดย่อม และสร้างงานให้แก่ประชาชนตลอดจนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มีความสมดุล เป็น

                  ฐานรากในการพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ นอกจากการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยใน
                  ภาพรวมแล้ว ยังควรที่จะต้องเน้นการพัฒนาในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม โดยมีทิศทางที่สอดคล้องกับการพัฒนาใน

                  ภาพรวมของอุตสาหกรรมของประเทศ และมีลักษณะที่พิเศษเฉพาะของแต่ละอุตสาหกรรม และเพื่อให้เป็น
                  แนวทางน าร่องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เหมาะสมตามคุณลักษณะของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม จึงได้มีแนวคิดใน

                  การคัดเลือกอุตสาหกรรมน าร่อง โดยมีขั้นตอนและรายละเอียดในการคัดเลือก ดังภาพที่ 2.1-4



























                                          ภาพที่ 2.1-4 แนวคิดและเกณฑ์การคัดเลือกอุตสาหกรรมน าร่อง
                               (ที่มา: การวิเคราะห์ของ สศอ.ร่วมกับ ทีมที่ปรึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริการศาสตร์ NIDA)



                               จากผลการวิเคราะห์ สามารถสรุปอุตสาหกรรมน าร่อง และศักยภาพของอุตสาหกรรมน าร่องทั้ง 8
                  อุตสาหกรรมจะพบว่า ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่มีบทบาทส าคัญในการเป็นผู้รับจ้างการผลิตให้กับเจ้าของตรา

                  สินค้าจากต่างประเทศ เนื่องจากผู้ประกอบการไทยยังขาดการสร้างตราสินค้าให้เป็นที่รู้จัก และได้รับการยอมรับใน
                  ระดับสากล แต่มีศักยภาพในการเป็นผู้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีการก าหนดบทบาทของผู้ประกอบการในอนาคตนั้น

                  จึงมุ่งเน้นสู่การสร้างตราสินค้าไทยให้เป็นที่ประจักษ์ในเวทีโลกต่อไปส าหรับอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพสูง และมี

                  ช่องทางการยกระดับไปสู่เจ้าของตราสินค้า ดังนี้
                                      1) อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพและ

                  ความพร้อมทั้งในด้านของวัตถุดิบ และบุคลากรค่อนข้างมาก แนวทางการพัฒนาจึงจ าเป็นต้องมุ่งสู่การเป็นฐานการ

                  ผลิตในอาเซียน และขยายช่องทางการตลาดให้เข้าถึงประเทศต่างๆเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการสร้าง และประชาสัมพันธ์
                  ตราสินค้าไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ควบคู่กับการสร้างมาตรฐานการผลิต และเน้นการสร้างฐานวิจัย และ

                  พัฒนาอุตสาหกรรมอาหารต่อไปในอนาคต เพื่อให้เกิดการยกระดับของอุตสาหกรรมอาหารไทยอย่างต่อเนื่อง




                  ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                            หน้า 2 -  12
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60