Page 83 - โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
P. 83
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรม
ด้านการแข่งขันของอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ซึ่งจะมีการก าหนดตัวแปร (ปัจจัย) และการก าหนดค่าถ่วงน้ าหนัก และ
การแปลผลข้อมูล แต่ทว่าการหาศักยภาพเชิงพื้นที่เพื่อรองรับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของส านักงานเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม (สศอ.) อันเป็นหน่วยงานหลักที่จะชี้น าการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไปสู่ความยั่งยืน จึงจ าเป็น
จะต้องค านึงถึงนโยบายจากภาครัฐ แผนการด าเนินงาน แผนงบประมาณและกลุ่มเป้าหมายร่วมด้วย เพื่อให้เกิด
การวิเคราะห์หาพื้นที่ที่มีศักยภาพและเหมาะสมรองรับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมต่อไป
1) ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลจากชุดข้อมูลแผนที่ความละเอียดสูงที่จัดหาภายใต้โครงการ ตลอดจน
ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลการวิเคราะห์ศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ (Potential
Area)
ในขั้นตอนนี้จ าเป็นจะต้องเริ่มต้นกระบวนการศึกษาด้วยการท าความเข้าใจ และรวบรวมข้อมูลที่
เกี่ยวข้องกับ ส านักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เพื่อให้สามารถเข้าใจถึงพันธกิจหลัก และฐานข้อมูลที่
หน่วยงานมีอยู่จ านวนมาก อันจะน ามาซึ่งการวิเคราะห์หาปัจจัยที่เหมาะสมได้อย่างแท้จริง จึงแบ่งขั้นตอนการ
ด าเนินงานในการศึกษาส่วนนี้ ดังนี้
1.1) การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น
- นโยบาย แผนงาน และพันธกิจของ สศอ.
- แนวความคิดของทฤษฎีแหล่งศูนย์กลาง (Central-place theory)
- ทฤษฎีท าเลที่ตั้งอุตสาหกรรม (Industrial location theory)
- แนวคิดเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town)
- แนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ สศอ.
1.2) การรวบรวมฐานข้อมูลของ สศอ. อาทิเช่น
- ฐานข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ
- ฐานข้อมูลนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ
- ฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศของ สศอ.
- ข้อมูลแผนที่ความละเอียดสูง
- ฐานข้อมูลดัชนีอุตสาหกรรม
- โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมทุกประเภทของ สศอ.
2) คัดเลือกอุตสาหกรรมน าร่อง จ านวน 5 อุตสาหกรรม ด าเนินการโดยพิจารณาจากอุตสาหกรรม
ภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรม 3 กลุ่ม ตามมูลค่าทางเศรษฐกิจ และแนวโน้มในการเติบโตในอนาคต ของกระทรวง
อุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 อุตสาหกรรมต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-Curve) กลุ่มที่ 2
อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) และกลุ่มที่ 3 อุตสาหกรรมที่ควรปฏิรูป โดยอุตสาหกรรมที่คัดเลือกมานั้น
จะต้องได้รับความเห็นชอบจากส านักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)
ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้า 3 - 10