Page 49 - คู่มือหลักสูตรสาขาวิชาแมคคาทรอนิกส์ และคลัสเตอร์หุ่นยนต์
P. 49
การพัฒนาองค์ความรู้และอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์
มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์
มาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพแมคคาทรอนิกส์ และสาขาคลัสเตอร์หุ่นยนต์
ค่าความถูกต้อง (Accuracy) คือ ค่าจากการวัดที่มีความใกล้เคียงกับค่าจริง ซึ่งค่าความ
ถูกต้องนี้เป็นค่าที่สามารถบ่งบอกได้ถึงประสิทธิภาพและความสามารถของเครื่องมือที่ใช้ใน
กระบวนการวัดได้
เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อน (Percentage Error) คือ ค่าที่แสดงถึงเปอร์เซ็นต์ความ
แตกต่างค่าของค่าที่วัดได้กับค่าที่แท้จริง ซึ่งเครื่องมือวัดแต่ละชิ้นจะถูกระบุค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาด
เคลื่อนที่แตกต่างกัน อีกทั้งค่าดังกล่าวนี้ยังสามารถน ามาใช้ประโยชน์ส าหรับการค านวณหาค่าความ
ถูกต้อง (Accuracy) ของเครื่องมือวัดได้อีกด้วย
ความคลาดเคลื่อนสถิต (Static error) คือ ผลต่างของค่าแท้จริงกับค่าที่ได้จากการผล
ทดลอง มักถูกแสดงในรูปแบบของร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ (%) ผู้วัดสามารถดูประสิทธิภาพและความ
ถูกต้องแม่นย าของการวัดได้จากความใกล้เคียงกันระหว่างค่าจริงกับค่าที่ได้ โดยที่ในแต่ละครั้งของ
กระบวนการวัดจะมีค่าความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นเสมอ ซึ่งค่าความคลาดเคลื่อนดังกล่าวนี้อาจเป็น
สาเหตุของการเกิดความไม่แน่นอน (uncertainty) ผู้วัดจึงควรท าความเข้าใจกับหลักการในการวัด
และท าการแก้ไขข้อผิดพลาดเพื่อปรับลดค่าความคลาดเคลื่อนที่จะเกิดขึ้น
ความคลาดเคลื่อนเชิงระบบ (Systematic error) คือความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นจาก
ความผิดพลาดของเครื่องมือวัด (instrument) ส่งผลให้การอ่านค่าซ้ าเกิดการคลาดเคลื่อนขึ้น ใน
บางครั้งความคลาดเคลื่อนเชิงระบบอาจมีชื่อเรียกได้เป็น fixed error หรือ bias error ซึ่งความคลาด
เคลื่อนดังกล่าวถูกจัดเป็นความคลาดเคลื่อนสถิติ (static error) ที่ผู้มีประสบการณ์ในการวัดสามารถ
คาดเดาการเปลี่ยนแปลงของค่าที่จะเกิดขึ้นได้ เนื่องจากค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นในการวัดแต่ละ
ครั้งมีขนาดเท่าเดิม โดยปัญหาความความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นนี้ สามารถลดและแก้ไขค่าได้ด้วยการ
น าวิธีการปรับแก้มาใช้ในการช่วยปรับลดค่าลง
ความคลาดเคลื่อนแบบสุ่ม (Random error) คือความคลาดเคลื่อนที่สามารถเกิดขึ้นได้ใน
หลายกรณี ตัวอย่างเช่น ค่าปริมาณความชื้นและอุณหภูมิในอากาศที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนของ
สิ่งแวดล้อมรอบข้าง รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟฟ้าหรือความถี่ เป็นต้น ซึ่งความคลาดเคลื่อน
แบบสุ่มนี้จัดเป็นความคลาดเคลื่อนสถิติ (static error) ที่สามารถหาค่าได้จากการใช้หลักการทางสถิติ
มาคิดค านวณ และเป็นค่าที่ไม่สามารถคาดเดาความคลาดเคลื่อนได้ล่วงหน้า เนื่องจากเมื่อท าการวัด
ซ้ าจะได้ค่าที่แตกต่างกันไปในแต่ละครั้ง
ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากผู้วัด (Human error) คือค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นจาก
ความผิดพลาดในการค านวณผล การอ่านค่า รวมไปถึงการบันทึกค่า ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไข
ได้โดยการเพิ่มความรอบคอบ และความระมัดระวังในระหว่างขั้นตอนการวัด และการสร้างความ
เข้าใจที่ถูกต้องส าหรับหลักการอ่านค่าให้แก่ตัวผู้วัด ซึ่งค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากตัวผู้วัดนี้ ถูก
จัดเป็นค่าความคลาดเคลื่อนสถิติ (static error)
รายงานการพัฒนาองค์ความรู้และอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์ หน้า 45