Page 116 - Thai Heritage from Space_ebook
P. 116
ชุมชนโบราณในประเทศไทย
่
ทะเบียนแหล่งทีตั้งและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ชุมชนโบราณ ทั้งขนาดเล็กและใหญ่
ที่ตั้งขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ ในอดีต สามารถศึกษา 21 ํ 06’ N
ได้จากรูปถ่ายทางอากาศหรือภาพจากดาวเทียม 107 ํ 39’ E
โดยอาศัยหลักฐานภูมิลักษณ์วัฒนธรรม ได้แก่
ก�าแพงเมือง-คูเมือง สระพัง-บาราย เขื่อน คู-คลอง
และถนน เป็นต้น โดยปรากฏให้เห็นสภาพที่เป็นอยู่
ตามวันเวลาที่บันทึกภาพนั้นไว้
ข้อมูลและรายละเอียดที่เป็นหลักฐาน
การตั้งถิ่นฐานรวมทั้งสภาพและองค์ประกอบ
ของผังเมือง ตลอดจนความสัมพันธ์กับสภาพ
แวดล้อมการตั้งถิ่นฐานสามารถน�ามาท�าแผน
ที่ก�าหนดต�าแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์แสดงต�าแหน่ง
ที่ตั้งชุมชนโบราณตามที่ปรากฏให้เห็นในภาพ
ได้อย่างถูกต้องแม่นย�า โดยมีรายละเอียดเพียงพอ
ส�าหรับการศึกษาให้รู้และเข้าใจภูมิปัญญา
การตั้งถิ่นฐาน การสร้างบ้านแปงเมืองในอดีต
ได้เป็นอย่างดี รวมถึงความเป็นเอกลักษณ์และ
พัฒนาการของชุมชนโบราณในแต่ละท้องถิ่นนั้น
และส่งผลให้เกิดแรงบันดาลใจส�านึกในความ
เป็นแหล่งมรดกวัฒนธรรมอันควรอนุรักษ์ไว้
เพื่อความภูมิใจของท้องถิ่นและเป็นเกียรติของชาติ
ผลจากการส�ารวจพบหลักฐาน “ภูมิลักษณ์
วัฒนธรรม” จากรูปถ่ายทางอากาศ ซึ่งบ่งบอกถึง
ต�าแหน่งที่ตั้งแหล่งชุมชนโบราณในประเทศไทย
ประมาณไม่น้อยกว่า ๑,๒๐๐ แห่ง แต่ละแห่งได้น�า อ่าวไทย
มาจัดท�าเป็นทะเบียนแหล่งที่ตั้งชุมชนโบราณ
ประกอบด้วยรูปถ่ายทางอากาศชุมชนโบราณ
ระบุ วัน เดือน ปี บันทึกภาพ พิกัดภูมิศาสตร์
ชื่อสถานที่ และเขตการปกครอง ตามข้อมูลแผนที่
ภูมิประเทศ ชุด L 7017 มาตราส่วน ๑:๕๐,๐๐๐
(กรมแผนที่ทหาร) ประมวลเป็นแผนที่รูปเล่มจังหวัด
ให้สะดวกส�าหรับการใช้ประโยชน์ของท้องถิ่นที่
แหล่งชุมชนโบราณนั้นตั้งอยู่ ได้แก่ องค์การบริหาร อันดามัน
ส่วนต�าบล รวมถึงสถานศึกษา และหน่วยงาน
ราชการที่เกี่ยวข้อง ในการจัดท�าทะเบียนแหล่ง
ที่ตั้งชุมชนโบราณประเทศไทยจากรูปถ่ายทาง แหล่งที่ตั้งชุมชนโบราณในประเทศไทย
อากาศได้รับการสนับสนุนในการจัดท�าจาก
The International Toyota Foundation N
(พ.ศ. ๒๕๒๑ - ๒๕๒๕) โดยมุ่งหมายให้เกิด
ประโยชน์อย่างแพร่หลายใช้เป็นฐานข้อมูล 04 ํ 55’ N
ส�าคัญในการศึกษาและอนุรักษ์ชุมชนโบราณ 99 ํ 28’ E 100 km.
ทั่วประเทศจนถึงปัจจุบัน และเป็นผลงานที่
คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติพิจารณาให้ได้รับรางวัล
สิ่งประดิษฐ์คิดค้น ประจ�าปี พ.ศ. ๒๕๓๕
102 102 l