Page 176 - Thai Heritage from Space_ebook
P. 176

เวียงลอ


                                                                     “เวียงลอ”  การศึกษาก�าหนดขอบเขตที่ดินก�าแพงเมือง-คูเมืองของกรมธนารักษ์
                                                              ด้วยข้อมูลรูปถ่ายทางอากาศ  ปรากฏหลักฐานให้เห็นได้ชัดเจน  มีก�าแพงเมือง-คูเมือง  3 บริเวณ
                                                              เรียงต่อกันในแนวเหนือใต้  ได้แก่  (1)  ก�าแพงเมือง-คูเมืองเวียงพระธาตุบุนนาค  สร้างขึ้นเป็น
                                                              แบบเมืองป้อมภูเขาโดยขุดคูล้อมรอบบนเนินซ้อนกัน ๒ - ๕ คู และขยายบริเวณสร้างก�าแพงเมือง-
                                                              คูเมืองล้อมรอบจนจรดขอบลานตะพักแม่น�้า  (2)  ก�าแพงเมือง-คูเมืองเวียงลอ  สร้างขึ้นภายหลัง
                                                              โดยขุดคูเมือง-ก�าแพงเมืองล้อมรอบบริเวณในที่ราบบนขอบลานตะพักแม่น�้าด้านตะวันออก
                                                              ของแม่น�้าอิงเก่า (ฮ่องขึด) ฝั่งตรงกันข้ามกับเมืองเก่า  ซึ่งภายหลังแม่น�้าอิงเปลี่ยนทางเดินมาไหล
                                                              ตามแนวปัจจุบันตัดผ่านกลางเมืองเวียงลอ แบ่งพื้นที่ออกเป็นด้านเหนือและด้านใต้ ซึ่งมีโบราณสถาน

                                                              สมัยล้านนาปรากฏอยู่ทั่วไปทั้งสองฝั่ง และมีอิฐเป็นก�าแพงทับบนแนวก�าแพงดินเดิมด้านใน และ (3)
                                                              เวียงร่องย้าง (หรือเวียงชุม) มีก�าแพงเมือง-คูเมืองขุดล้อมรอบบริเวณเป็นแนวยาวตามเนินสันฝั่งแม่น�้า
                                                              เก่าบนขอบลานตะพักฝั่งตะวันออกของแนวแม่น�้าอิงปัจจุบัน
                                                                     ตามหลักฐานโบราณคดี พบการตั้งถิ่นฐานซึ่งเป็นแหล่งฝังศพมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์
                                                              ใต้ชั้นก่อสร้างก�าแพงเมืองเวียงลอ (ส่วนที่ 2) มีเครื่องมือและอาวุธท�าด้วยเหล็ก เครื่องประดับ ส�าริด และแก้ว
                                                              แสดงถึงการตั้งถิ่นฐานที่มีมาแล้วก่อนการสร้างก�าแพงเมือง-คูเมืองเวียงลอ  และภายในเมืองพบ
                                                              หลักฐานการอยู่อาศัยค่อนข้างหนาแน่นในเขตเมืองเวียงลอแสดงความเป็นบ้านเมืองยุคล้านนา

                                                              ร่องรอยหลักฐานในภาพแสดงถึงการตั้งถิ่นฐานเริ่มต้นในยุคก่อนประวัติศาสตร์ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
                                                              ถึงสมัยอาณาจักรหริภุญไชย  ซึ่งได้พบชิ้นส่วนพระพิมพ์ดินเผาที่วัดพระธาตุบุนนาคและที่อื่น ๆ
                                                              ภายหลังได้สร้างเวียงลอขึ้นในช่วงเวลาพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ต่อเนื่องถึงสมัยล้านนาพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๓
                                                              ภายหลังเวียงลอถูกทิ้งร้าง เมื่อพระเจ้ากาวิละน�าทัพมากวาดต้อนผู้คนออกไปช่วงเวลาหนึ่ง และมีผู้คน
                                                              กลับเข้ามาอยู่อาศัยใหม่โดยไม่มีความสัมพันธ์กับร่องรอยการตั้งถิ่นฐานเดิม





                                                                                                                           19 � 32’ N
                                                                                                                           100 � 12’ E
                                                                                               หนองไผ่





                                                                  ดอยจิกจ้อง

                                                                                             น�้ำแม่อิง









                                                    น�้ำแม่อิง                  เวียงลอ   น�้ำจุน

















                                     น�้ำแม่อิง                                                                              N



              19 � 21’ N
              99 � 56’ E                                                                                                    2 km.




           162 162  l
   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181