Page 316 - Thai Heritage from Space_ebook
P. 316

วีรกรรมขุนรองปลัดชูที่อ่าวหว้าขาว


                               ช่วงปลายสมัยพระนครศรีอยุธยา  รัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาสอมรินทร์  ราว  พ.ศ.  ๒๓๐๓  พระเจ้าอลองพญา
                          เจ้ากรุงอังวะ หลังจากขึ้นครองราชย์แล้ว ได้กรีธาทัพเข้าตีเมืองเมาะตะมะ และเมืองส�าคัญบนฝั่งทะเลอันดามัน ทะวาย มะริด และ
                          ตะนาวศรี ฝ่ายไทยได้ข่าวจึงส่งทหาร มีพระยายมราชเป็นแม่ทัพลงมาช่วยรบที่เมืองกุย ผ่านช่องแคบสิงขรไปยังเมืองตะนาวศรี

                          แต่เมื่อทราบว่าพม่ายึดเมืองตะนาวศรีได้แล้ว จึงตั้งทัพอยู่ที่ “แก่งตุ่ม” ต่อมาพม่าได้เข้าตีกองทัพพระยายมราชแตก และถอยร่น
                          กลับมาทางเมืองกุย
                               ครั้งนั้น ขุนรองปลัดชู กรมการเมืองพร้อมชาวบ้านเมืองวิเศษชัยชาญ ๔๐๐ คนอาสาสมัครช่วยรบ ร่วมมากับกองทัพ
                          พระยารัตนาธิเบศร์ตั้งรออยู่ที่เมืองกุย ขุนรองปลัดชูได้ตั้งกองสกัดทัพพม่าอยู่ที่ “อ่าวหว้าขาว” มีช่องแคบระหว่างเขาและทะเลบน
                          เส้นทางด้านทิศใต้ที่จะผ่านไปถึงเมืองกุย และเป็นเส้นทางเดียวที่พม่าจะต้องเดินทัพผ่านไปยังเมืองปราณ เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี
                          และพระนครศรีอยุธยา เมื่อกองทัพพม่ามาถึง กองอาสาสมัครของขุนรองปลัดชูได้เข้าโจมตีฆ่าฟันทหารพม่าล้มตายจ�านวนมาก





                                                                                                                                                   12 ํ 43’ N
                                                                                                                                                   100 ํ 03’ E








                        มะริด




















                                                ตะนาวศรี                                                                กุยบุรี







                                                                                                                                หว้าขาว
                                                               เส้นทางข้ามคาบสมุทร
                                                                                     แก่งตุ่ม













                                                                                                                                                      N

      11 ํ 30’ N
      98 ํ 21’ E                                                                                                                                    10 km.




           302 302  l
   311   312   313   314   315   316   317   318   319   320   321