Page 12 - สมัยปรับปรุงและปฏิรูปประเทศ
P. 12

ประวัติศาสตร์   ม. ๓  หน่วยการเรียนที่ ๓   ประวัติศาสตร์ไทยสมัยปรับปรุงและปฏิรูปประเทศ                      ๑๑


               รายได้ของแผ่นดิน ตั้ง พระคลังข้างที่ ขึ้นส าหรับจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ส าหรับรายได้ภาษีอากรของ

               แผ่นดิน ให้พระคลังมหาสมบัติเป็นผู้ควบคุมดูแล
                    ๖. จัดระบบเงินตราใหม่ โดยยกเลิกระบบเงินพดด้วง หน่วยเงิน เฟื้อง ซีก เสี้ยว อัฐ โสฬส ต าลึง ชั่ง โดยสร้าง

               หน่วยเงินขึ้นใหม่ ให้ใช้ เหรียญบาท เหรียญสลึง เหรียญสตางค์ ก าหนดให้ ๑๐๐ สตางค์ เท่ากับ ๑ บาท พร้อมทั้ง
               ผลิตเหรียญสตางค์ท าด้วยทองค าขาวมี ๔ ราคา ได้แก่ ๒๐ สตางค์ ๑๐ สตางค์ ๕ สตางค์และ ๒ สตางค์ครึ่ง

                    ๗. ตราพระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ. ๑๒๑ จัดพิมพ์ธนบัตรรุ่นแรก มีราคา ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๑๐๐ บาท

               และ ๑๐๐๐ บาท ต่อมาเพิ่มชนิด ๑ บาท
                    ๘. เปลี่ยนมาตราฐานเงินมาเป็นมาตราฐานทองค า ร.ศ. ๑๒๗ เมื่อ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๑ เพื่อรักษาอัตรา

               แลกเปลี่ยนเงินตราไทยให้สอดคล้องกับหลักสากลทั่วไป
                    ๙. ก าเนิดธนาคารแห่งแรก เดิมเรียกว่า บุคคลัภย์ Book Club แล้วขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจด

               ทะเบียนเป็นบริษัทให้ถูกต้องตามกฎหมาย มีชื่อว่า บริษัท แบงค์สยามกัมมาจล ทุนจ ากัด ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น

               ธนาคารไทยพาณิชย์ จ ากัด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒
               มีการผลิตเงินพดด้วงเพียง ๒ ครั้งเพื่อใช้เป็นที่ระลึก ไม่ได้ท าออกใช้ทั่วไป



               การสาธารณูปโภค
                    - ก าเนิดการไฟฟูา โดยมี จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) เป็นผู้ริเริ่มจ าหน่ายไฟฟูาและขยาย

               กิจการมาเป็น การไฟฟูานครหลวงในปัจจุบัน
                    - ก าเนิดการประปา ในเดือนกรกฎาคม ๒๔๕๒ ได้โปรดให้เริ่มด าเนินการสร้างประปาขึ้น โดยเก็บกักน้ า ที่คลอง

               เชียงราก จังหวัดปทุมธานี แล้วขุดคลองประปาส าหรับส่งน้ าเข้ามาจนถึงคลองสามเสน พร้อมทั้งฝังท่อเอกและ

               อุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้ราษฎรมีน้ าสะอาดใช้
                    - ก าเนิดโรงพยาบาลแห่งแรก ตั้งอยู่ บริเวณริมคลองบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี เดิมเรียก โรงพยาบาลวังหลัง ด าเนิน

               กิจการเมื่อ ๒๖ เมษายน ๒๔๓๑ ต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น โรงศิริราชพยาบาล แต่คนทั่วไปชอบเรียกกันว่า

               โรงพยาบาลศิริราช ก าเนิดโรงเรียนแพทย์ ใน โรงพยาบาลศิริราช เมื่อ ๒๔๓๒ เรียกว่า โรงเรียนแพทยากร ต่อมา
               เรียก ราชแพทยาลัย ภายหลังคือ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ของมหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน

                    - ตั้งสภาอุณาโลมแดง เนื่องจากกรณี พิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ในวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ มี
               ทหารไทยบาดเจ็บล้มตายเป็นจ านวนมาก จึงจัดตั้ง สภาอุณาโลแดงแห่งชาติสยาม ขึ้น เพื่อจัดหาทุนซื้อยาและเครื่อง

               เวชภัณฑ์ ส่งไปบรรเทาทุกข์ทหารที่บาทเจ็บในสงครามครั้งนี้ ต่อมาได้ขยายกิจการช่วยเหลือกว้างขวางออกไปถึง

               ประชาชนทั่วไปและภายหลังได้ เปลี่ยนชื่อเป็น สภากาชาดสยาม และเปลี่ยนเป็น สภากาชาดไทย ในปัจจุบัน
                    - ตั้งกรมสุขาภิบาล ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ เพื่อดูแลรักษาความสะอาด ก าจัดกลิ่นเหม็น ควบคุมโรคติดต่อต่าง ๆ

               ให้ราษฎรมีสุขภาพอาณามัยที่ดี แล้วขยายไปยังส่วนภูมิภาค โดยทดลองจัดการสุขาภิบาลหัวเมืองขึ้นเป็นครั้งแรก



                                                                                      ครูผู้สอน คุณครูจิราพร  พิมพ์วิชัย
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17