Page 15 - สมัยปรับปรุงและปฏิรูปประเทศ
P. 15
ประวัติศาสตร์ ม. ๓ หน่วยการเรียนที่ ๓ ประวัติศาสตร์ไทยสมัยปรับปรุงและปฏิรูปประเทศ ๑๔
- ปรับปรุงหลักสูตร โดยประกาศเลิกใช้แบบเรียนหลวง ๖ เล่มของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูร)
มาใช้แบบเรียนเร็วของ สมเด็จกรมพระยาด ารงราชานุภาพ แทน และประกาศใช้โครงการศึกษาส าหรับชาติ ขึ้นเป็น
ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑
- ตั้งโรงเรียนบ ารุงสตรีวิชา นับว่าเป็นโรงเรียนสตรีของรัฐบาลโรงเรียนแรก
- ก าเนิดโรงเรียนฝึกหัดครู หรือโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ โดยมีสถานที่เรียน ณ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา และต่อมาได้
ก าเนิด สามัคยาจารย์สมาคม ขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕
- ก าเนิดการสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวง หรือที่เรียกว่า คิงสกอลาชิป
ลักษณะสังคมของไทย
สังคมของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการแบ่งชนชั้นออกเป็น ๔ ประเภทคือ
เจ้านาย
ขุนนาง หรือ ข้าราชการ
ไพร่ หรือ สามัญชน
ทาส
๑. เจ้านาย คือผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์ แต่มิได้หมายความว่าผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์
ทุกคนจะเป็นเจ้า นายหมด ลูกหลานของพระมหากษัตริย์จะถูกลดสกุลยศตามล าดับ และ ภายใน ๕ ชั่วคน ลูกหลาน
ของเจ้านายก็จะกลายเป็นสามัญชน ราชสกุลยศจะมีเพียง ๕ ชั้นคือ เจ้าฟูา เป็นชั้นสูงสุด เจ้าฟูาคือ พระโอรส ธิดา
ของพระมหากษัตริย์อันประสูติจากอัครมเหสี
พระองค์เจ้า คือ พระโอรส ธิดาของพระมหากษัตริย์อันประสูติแด่พระสนม หรือเป็นพระโอรส ธิดาของเจ้าฟูา
หม่อมเจ้า คือ พระโอรส ธิดา ของพระองค์เจ้า
หม่อมราชวงศ์ คือ บุตรธิดาของหม่อมเจ้า
หม่อมหลวง คือ บุตรธิดาของหม่อมราชวงศ์
พอถึงชั้นหม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง ก็ถือว่าเป็นสามัญชนแล้วมิได้มีสิทธิพิเศษเช่นเจ้านายชั้นสูงแต่อย่างใด
เพื่อเฉลิมพระเกียรติและตอบแทนเจ้านายที่ได้ท าความดีความชอบในราชการ พระมหากษัตริย์ จะทรงแต่งตั้ง
เจ้านายนั้น ๆ ให้ทรงกรม ซึ่งมีล าดับขั้นเหมือนกับยศของขุนนางดังนี้
ครูผู้สอน คุณครูจิราพร พิมพ์วิชัย