Page 20 - สมัยปรับปรุงและปฏิรูปประเทศ
P. 20

ประวัติศาสตร์   ม. ๓  หน่วยการเรียนที่ ๓   ประวัติศาสตร์ไทยสมัยปรับปรุงและปฏิรูปประเทศ                      ๑๙


               กับฝรั่งเศสรับรองอย่างเป็นทางการว่าเขมรเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส โดยไทยจะไม่เรียกร้องให้เขมรส่งเครื่องราช

               บรรณาการให้แก่ไทยดังแต่ก่อน ส่วนดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ (เขมรส่วนใน) ก็ยังอยู่ภายใต้การปกครองของไทย
               ตามเดิม


               ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส สมัยรัชกาลที่ ๕

                    ๒. การเสียแคว้นสิบสองเจ้าไทย พ.ศ.๒๔๓๑ ( รัตนโกสินทร์ศักราช๑๐๗) ฝรั่งเศสขอท าสนธิสัญญากับไทย เพื่อ

               ตั้งสถานกงสุลที่หลวงพระบาง พ.ศ.๒๔๓๑ โดยให้ นายออกุสต์ ปาวี (Monsieur August Pavie) เป็นกงสุลประจ า
               ต่อมาพวกฮ่อเข้าปล้นเขตแดนไทยจนถึงหลวงพระบาง ไทยจึงรีบยกทัพไปปราบปรากฏว่าสามารถขับไล่พวกฮ่อออก

               จากเขตแดนไทยได้ทั้งหมด แต่ฝรั่งเศสยังคงยึดแคว้นสิบสองเจ้าไทย และหัวพันทั้งห้าทั้งหกไว้ไม่ยอมยกทัพกลับไป
               โดยอ้างว่าจะคอยปราบปรามพวกฮ่อ



                    ๓. การเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ าโขง พ.ศ.๒๔๓๖ ( รัตนโกสินทร์ศักราช ๑๑๒) ฝรั่งเศสต้องการให้ลาวหรือฝั่ง
               ซ้ายของแม่น้ าโขงตกเป็นเมืองขึ้นของตน จึงใช้ข้ออ้างว่าญวนและเขมรเคยมีอ านาจเหนือลาวมาก่อน เมื่อญวนกับ

               เขมรเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสดินแดนต่างๆ เหล่านี้ก็ควรตกเป็นของฝรั่งเศสด้วยใน พ.ศ.๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) ฝรั่งเศส

               จึงส่งกองทัพเรือมาตามลุ่มแม่น้ าโขงและส่งเรือรบ ๒ ล า มาปิดปากแม่น้ าเจ้าพระยา ทหารได้ท าการยิงต่อสู้ไม่ส าเร็จ
               มีคนได้รับบาดเจ็บและเรือเสียหายมาก นายปาวีซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจ าประเทศไทย ได้ยื่นค าขาดที่จะ

               ปิดน่านน้ าไทย ถ้าไทยไม่ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส และปิดอ่าวไทยทันที่ รัฐบาลไทยจึงต้องปฏิบัติตามข้อ
               เรียกร้องของฝรั่งเศสทุกประการเพื่อเอกราชและอธิปไตยของชาติ วิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒ นี้นับว่าไทยสูญเสียดินแดน

               ครั้งส าคัญและมากที่สุด โดยต้องยอมยกอาณาจักรลาวเกือบทั้งหมดให้กับฝรั่งเศส


                    ๔. การเสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ าโขง พ.ศ.๒๔๔๖ ( รัตนโกสินทร์ศักราช ๑๒๒) จากวิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒ ท า

               ให้ฝรั่งเศสยึดดินแดนจันทบุรี ซึ่งนับว่าเป็นเมืองยุทธศาสตร์เมืองหนึ่งของไทย ไว้เป็นประกันถึง ๑๐ ปี ไทยจึงหาทาง
               แลกเปลี่ยนโดยยอมยกเมืองมโนไพรและจ าปาศักดิ์ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเมืองปากเซ และดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ าโขง

               ตรงข้ามกับเมืองหลวงพระบางให้ใน พ.ศ.๒๔๔๘ ฝรั่งเศสจึงยอมถอนทหารออกจันทบุรี แต่กลับไปยึดเมืองตราดไว้

               แทน


                    ๕. การเสียดินแดนมณฑลบูรพา พ.ศ.๒๔๔๙ ( รัตนโกสินทร์ศักราช ๑๒๕) ไทยยอมท าสัญญายกมณฑลบูรพา ซึ่ง

               ประกอบด้วยเมือง พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ (เขมรส่วนใน) ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อแลกเปลี่ยนกับจังหวัดตราดและ
               เกาะต่างๆ ที่อยู่ใต้แหลมสิงห์ ลงไปจนถึงเกาะกูดที่ฝรั่งเศสยึดไว้สิ่งส าคัญที่ไทยได้รับจากการลงนามในสัญญานี้ เมื่อ

               วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ คือ ฝรั่งเศสย่อมผ่อนผันให้คนในบังคับฝรั่งเศสที่เป็นชาวเอเชีย ซึ่งมาจดทะเบียน



                                                                                      ครูผู้สอน คุณครูจิราพร  พิมพ์วิชัย
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25