Page 21 - สมัยปรับปรุงและปฏิรูปประเทศ
P. 21

ประวัติศาสตร์   ม. ๓  หน่วยการเรียนที่ ๓   ประวัติศาสตร์ไทยสมัยปรับปรุงและปฏิรูปประเทศ                      ๒๐


               ภายหลังวันลงนามในสัญญาให้ขึ้นอยู่ในอ านาจของศาลไทย แต่ศาลกงสุลของฝรั่งเศสก็ยังคงมีอ านาจที่จะเรียกคดี

               จากศาลไทยไปพิจารณาใหม่ได้ จนกว่าไทยจะประกาศใช้ประมวลกฎหมายครบถ้วนแล้ว


               ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอังกฤษ
                    ๖. อนุสัญญาลับไทยกท ากับอังกฤษ พ.ศ.๒๔๔๐ วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๐ รัฐบาลได้ลงนามในอนุสัญญาลับ

               ร่วมกับอังกฤษ โดยตกลงว่ารัฐบาลไทยจะไม่ยินยอมให้ชาติหนึ่งชาติใด เช่าซื้อหรือถือกรรมสิทธิ์ในดินแดนไทย

               ตั้งแต่บริเวณใต้ต าบลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลอังกฤษเป็น
               ลายลักษณ์อักษร ส่วนอังกฤษตกลงให้ความคุ้มครองทางทหารแก่ไทยกรณีที่ถูกชาติอื่นรุกรานผลของอนุสัญญาฉบับนี้

               ท าให้อังกฤษมีอิทธิพลทางด้านการเมืองและการค้าในดินแดนไทย ตั้งแต่ต าบลบางสะพาน
               ไปจนตลอดแหลมมลายู เพียงชาติเดียว ท าให้ไทยเสียเปรียบมาก และเมื่อไทยถูกฝรั่งเศสบังคับให้ยกดินแดน

               ฝั่งขวาของแม่น้ าโขงให้ฝรั่งเศส อังกฤษก็ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือแต่อย่างใด และอนุสัญญานี้ยังเป็นการละเมิด

               สิทธิประเทศอื่นๆ ที่มีไมตรีกับไทยอีก ท าให้รัฐบาลต้องพยายามหาวิถีทางจะยกเลิกเสียโดยเร็ว


                    ๗. การเสียรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิสให้อังกฤษ พ.ศ. ๒๔๕๒ รัตนโกสินทร์ศักราช ๑๒๘ เมื่อ

               พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๕๒ นายเอ็ดเวิร์ด สโตรเบล
               ซึ่งเป็นที่ปรึกษาราชาแผ่นดินชาวอเมริกาเสนอ ให้ไทยแลกดินแดนมลายูกับการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ของ

               คนในประเทศอังกฤษในประเทศไทย ขอกู้เงินสร้างทางรถไฟสายใต้ และยกเลิกอนุสัญญาลับปี พ.ศ.๒๔๔๐ การ
               ด าเนินงานนี้ประสบผลส าเร็จ มีการลงนาม ในสนธิสัญญา วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๑ มีใจความส าคัญดังต่อไปนี้

               รัฐบาลไทยยอมยกดินแดนรัฐมลายู คือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปะลิส รวมทั้งเกาะใกล้เคียงให้อังกฤษ ฝุายอังกฤษ

               ยอมให้คนในบังคับอังกฤษทั้งยุโรปและเอเชีย ซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับกงสุลก่อนท าสัญญา ให้ไปขึ้นกับศาล
               ต่างประเทศ ส่วนคนในบังคับอังกฤษ ที่จดทะเบียนหลัง ท าสนธิสัญญาฉบับนี้ให้ไปขึ้นศาลไทย แต่ขอให้มีที่ปรึกษา

               ทางกฎหมายเป็นชาวยุโรปเข้าร่วมพิจารณาด้วย แต่ศาลกงสุลของอังกฤษก็ยังมีสิทธิจะถอนคด ของคนในบังคับ
               อังกฤษไปพิจารณาได้ สนธิสัญญานี้มีผลกระทั่งไทยประกาศใช้ประมวลกฎหมายให้ครบถ้วนเป็นเวลา ๕ ปี ในสัญญา

               นี้ให้ยกเลิกอนุสัญญาลับ พ.ศ.๒๔๔๐ ด้วย และการสร้างรถไฟสายใต้ รัฐบาลอังกฤษจะให้รัฐบาลไทยกู้เงิน ๕ ล้าน

               ปอนด์ โดยคิดดอกเบี้ยต่ า แต่ต้องให้ชาวอังกฤษเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้เอง เพราะอังกฤษต้องการ
               ให้บรรจบกับทางรถไฟในมลายูของอังกฤษ













                                                                                      ครูผู้สอน คุณครูจิราพร  พิมพ์วิชัย
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26