Page 17 - สมัยปรับปรุงและปฏิรูปประเทศ
P. 17
ประวัติศาสตร์ ม. ๓ หน่วยการเรียนที่ ๓ ประวัติศาสตร์ไทยสมัยปรับปรุงและปฏิรูปประเทศ ๑๖
๔.๖ ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย คือ ในเวลามีภัยธรรมชาติท าให้ข้าวยากหมากแพง ไพร่บางคน อดอยาก
ไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ต้องอาศัยมูลนายกิน ในที่สุดก็ต้องยอมเป็นทาสของมูลนายนั้น
๔.๗ ทาสเชลยคือ ทาสที่ได้มาจากการรบทัพจับศึกหรือการท าสงคราม เมื่อได้ชัยชนะจะต้อน ผู้แพ้สงครามมา
เป็นทาส
ขั้นตอนการเลิกทาส
การปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระแก่ตนเองนั้นจ าเป็นจะต้องค่อยเป็นค่อยไป เพราะสังคมไทยมี
ทาสมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ การยกเลิกทาสโดยฉับพลันย่อมจะกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของกลุ่มมูลนาย
ที่ มีทาสในครอบครอง ดังนั้นรัชกาลที่ ๕ จึงทรงเตรียมแผนการในการเลิกทาสอย่างมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
๑. การออกประกาศให้ท าการส ารวจจ านวนทาสใน พ.ศ.๒๔๑๗ คือ ได้มีการประกาศให้ผู้ที่มี
ทาสในครอบครองได้ท าการส ารวจตรวจสอบจ านวนทาสในครอบ ครองของตนว่ามีอยู่เท่าไร รวมทั้งระยะเวลาที่ทาส
จะต้องเป็นทาสจนกว่าจะพ้นค่าตัว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกในการวางแผนขั้นต่อไป โดยเฉพาะให้มีการส ารวจ
และจดทะเบียนทาสที่เกิดตั้งแต่ปีมะโรง พ.ศ.๒๔๑๑ อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้น
ครองราชสมบัติ เป็นมา ทั้งนี้เพื่อเตรียมการเอาไว้ส าหรับการวางแผนเลิกทาสต่อไป
๒. การประกาศใช้พระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย พ.ศ.๒๔๑๗ ซึ่งได้ก าหนด
แนวทางในการปฏิบัติดังนี้
(๑) ถ้าทาสคนใดที่ถูกขายตัวเป็นทาสเกิดใน พ.ศ.๒๔๑๑ และในปีต่อๆ มาจนถึงอายุ ๒๑ ปี
ให้พ้นค่าตัวเป็นไท ไม่ว่าทาสจะอยู่กับมูลนายเดิม หรือย้ายโอนไปอยู่กับนายมูลใหม่ ส่วนทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.๒๔๑๑
ก็คงเป็นทาสต่อไปตามกฎหมายเดิม
(๒) ถึงแม้ว่าบุคคลซึ่งเกิดตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๑๑ เป็นต้นมานั้น จะได้รับการปลดปล่อยตาม
เงื่อนไขเวลาที่กล่าวมาแล้ว ต่อเมื่อถึง พ.ศ.๒๔๓๑ เป็นต้นไปก็ตาม แต่ก็สามารถได้รับการไถ่ถอนให้พ้นจากความเป็น
ทาสได้ในราคาพิเศษซึ่งถูกกว่า ทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.๒๔๑๑
(๓) ก าหนดว่าถ้าผู้ใดจะน าบุตรหลานของตนไปขายเป็นทาสซึ่งเกิดตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๑๑ และมี
อายุต่ ากว่า ๑๕ ปีลงมาไปขายเป็นทาส จะต้องขายในอัตราซึ่งก าหนดไว้ในพิกัดกระเษียรอายุใหม่ในรัชกาลที่ ๕
(๔) ห้ามผู้ที่เกิดใน พ.ศ.๒๔๑๑ หรือบิดามารดาของตนเองขายตนเป็นทาส โดยที่ตนเองและ
บิดามารดากล่าวเท็จว่ามิได้เกิดใน พ.ศ.๒๔๑๑ จะต้องถูกลงโทษด้วย
(๕) ห้ามมูลนายคิดค่าข้าว ค่าน้ า กับเด็กชายหญิงที่ติดตามพ่อแม่ พี่น้อง ปูา น้า อา ของตนที่
ขายตัวเป็นทาส จนกลายเป็นเจ้าหนี้ของเด็กและเอาเด็กเป็นทาสต่อไปด้วย
พระราชบัญญัติกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย พ.ศ.๒๔๑๗ นี้ มิได้ใช้บังคับในทุกมณฑล มีบางมณฑล
มิได้บังคับใช้ คือ มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือหรือมณฑลพายัพ มณฑลตะวันออกหรือมณฑลบูรพา มณฑลไทยบุรี
กลันตัน ตรังกานู ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าขณะนั้นมณฑลเหล่านี้ยังเป็นประเทศราชอยู่ จึงไม่นับรวมเข้ามาในพระราช
ครูผู้สอน คุณครูจิราพร พิมพ์วิชัย