Page 3 - เหตุการณ์สำคัญสมัยรัตนโกสินทร์
P. 3

ประวัติศาสตร์   ม. ๓       เหตุการณ์ส าคัญสมัยรัตนโกสินทร์        ผู้สอน ครูจิราพร  พิมพ์วิชัย   2


                         2.  หัวเมืองชั้นนอก

                          3.   หัวเมือง ประเทศราช  ถ้าเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลราชธานี จะต้องส่งเครื่องบรรณาการมาให้เมือง
                            หลวง  ๓  ปีต่อครั้ง  ส่วนเมืองที่อยู่ใกล้ราชธานี ให้ส่งมาปีละครั้ง

                     กฎหมายไทยในสมัยนี้ ถือตามแบบอย่างอยุธยาและธนบุรี  แต่ได้มีการแก้ไขตรวจสอบขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๑  มี
              ชื่อว่า  กฎหมายตราสามดวง  คือ  ตราราชสีห์  ตราคชสีห์  และตราบัวแก้ว ใช้สืบต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕

                     การศึกษามีศูนย์กลางอยู่ที่วัด  วัง  และต้าหนักเจ้านาย   รัชกาลที่  ๓  โปรดให้จารึก ต้าราการแพทย์แผน

              โบราณ ไว้ที่วัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ซึ่งได้ชื่อว่า  เป็นวัดมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย
                     การศาสนา  การท้านุบ้ารุงศาสนา จะมีการท้าสังคายนา ช้าระพระไตรปิฎก  การออกกฎหมายส้าหรับพระสงฆ์

              และการสร้างวัดส้าคัญ  เช่น วัดพระศรีรัตนศาดาราม  วัดสุทัศน์เทพวราราม  และวัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม  เป็น
              ต้น  ในสมัยรัชกาลที่  ๒  โปรดให้ส่งทูตไปศึกษาความเป็นไป ของพระพุทธศาสนาในลังกา  และได้น้าหน่อพระศรีมหา

              โพธิ์จากลังกา กลับมา  ในสมัยรัชกาลที่  มีการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดเป็นจ้านวนมาก  จนนับได้ว่า เป็นสมัยที่มีการ

              ท้านุบ้ารุงพระพุทธศาสนาเป็นจ้านวนมาก
                     ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก ได้ขยายตัวมากขึ้น  เนื่องจากอยู่ในยุคแห่งการ ปฏิวัติอุตสาหกรรม และลัทธิ

              จักรวรรดินิยม  ชาติตะวันตกที่ส้าคัญ ที่เข้ามาติดต่อกับไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ได้แก่

                     โปรตุเกส  เป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อ  ชาวโปรตุเกส ชื่อ อันโตนิโอ  เอด วิเสนท์ (องตนวีเสน)
              เป็นผู้อัญเชิญสาส์นเข้ามา ในรัชกาลที่ ๑  ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ไทยได้ส่งเรือไปค้าขาย กับโปรตุเกส ที่มาเก๊า  และ

              โปรตุเกสได้ขอเข้ามาตั้งสถานกงสุล ในประเทศ ได้ส้าเร็จเป็นประเทศแรก
                     อังกฤษ  พยายามท้าไมตรีกับไทย เพื่อหวังประโยชน์ในดินแดนมลายู   ในสมัยรัชกาลที่ ๓ อังกฤษ ได้มาขอ

              ความช่วยเหลือให้ไทยไปช่วยรบกับพม่า  ไทยกับอังกฤษ ได้ท้าสนธิสัญญา โดยสมบูรณ์เป็นฉบับแรก ในสมัย

              รัตนโกสินทร์ คือ สนธิสัญญาเบอร์นี ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๖๙  โดยมีสาระส้าคัญ คือ  ไทยกับอังกฤษ จะมี
              ไมตรีจิตต่อกัน  อ้านวยความสะดวกในด้านการค้าซึ่งกันและกัน และเรือสินค้า ที่เข้ามาค้าขาย ต้องเสียภาษีเบิกร่อง

              หรือภาษีปากเรือ แทนการเก็บภาษีตามแบบเดิม
              กรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ จนถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕

                   หัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ไทยตอนนี้ อยู่ที่การท้า สนธิสัญญาเบาว์ริง ในสมัยรัชการที่ ๔ ที่มาและ

              สาระส้าคัญของการท้าสนธิสัญญาเบาว์ริง มีดังนี้
                 ๑.  ในสมัยรัชการที่ ๔  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนแปลงนโยบาย ต่างประเทศ มาเป็นการ

                     คบค้ากับชาวตะวันตก  เพื่อความอยู่รอดของชาติ  เนื่องจากทรงตระหนักถึงภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม ซึ่ง

                     ก้าลังคุกคามประเทศต่าง ๆ  อยู่ในขณะนั้น
                 ๒.  จุดเริ่มของการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ คือ การท้าสนธิสัญญาเบาว์ริง กับอังกฤษ ใน พ.ศ.

                     ๒๓๙๘  โดยพระนางเจ้าวิกตอเรีย ได้แต่งตั้งให้ เซอร์ จอห์น  เบาว์ริง เป็นราชทูตเข้ามาเจรจา

                 ๓.  สาระส าคัญของสนธิสัญเบาว์ริง มีดังนี้
                         o  อังกฤษขอตั้งสถานกงสุลในประเทศไทย

                         o  คนอังกฤษมีสิทธิเช่าที่ดินในประเทศไทยได้
                         o  คนอังกฤษสามารถสร้างวัด และเผยแพร่คริสต์ศาสนาได้
   1   2   3   4   5   6   7   8