Page 6 - เหตุการณ์สำคัญสมัยรัตนโกสินทร์
P. 6
ประวัติศาสตร์ ม. ๓ เหตุการณ์ส าคัญสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้สอน ครูจิราพร พิมพ์วิชัย 5
มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยา อยู่ที่วัดมหาธาตุฯ เป็นสถานศึกษาของพระสงฆ์ฝุายมหานิกาย (ปัจจุบัน คือ
มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงการณราชวิทยาลัย ศึกษาได้ทุกนิกาย ทั้งพระสงฆ์ และฆราวาส ทั่วโลก
มหามกุฏราชวิทยาลัย อยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นสถานศึกษาของพระสงฆ์ฝุายธรรมยุติกนิกาย (ปัจจุบันคือ
มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย การให้บริการด้านการศึกษา เช่นเดียวมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย)
๖. ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝูา ทรงให้เสรีภาพ
ประชาชน ในการนับถือศาสนาและประกอบอาชีพ โปรดให้สตรีได้ยกฐานให้สูงขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ
ให้ข้าราชการสวมเสื้อราชปะแตก และสวมหมวกอย่างยุโรป ให้ข้าราชการทหารแต่งเครื่องแบบ ตามแบบ
ตะวันตก โปรดให้ผู้ชายในราชส้านัก ไว้ผมทรงมหาดไทย เปลี่ยนมาไว้ผมตัดยาวทั้งศีรษะแบบฝรั่ง โปรดให้ผู้หญิงเลิก
ไว้ผมปีก ให้ไว้ผมตัดยาว ที่เรียกว่า "ทรงดอกกระทุ่ม" ทรงแก้ไขประเพณีการสืบสันตติวงศ์ โดยยกเลิกต้าแหน่งกรม
พระราชวังบวรสถานมงคล แล้วโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งต้าแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร
ขึ้น ทรงเลิกประเพณีหมอบคลานเข้าเฝูา และให้ยืนเข้าเฝูาแทน ยกเลิกการโกนผม เมื่อพระมหากษัตริย์
สวรรคต ยกเลิกการไต่สวนคดีแบบจารีตนครบาล และที่ส้าคัญที่สุด ที่พระองค์ทรงได้พระราชสมัญญานาม ว่า "พระ
ปิยมหาราช" ซึ่งแปลว่า มหาราชที่ทรงเป็นที่รักของประชาชน คือการยกเลิกระบบไพร่ และระบบทาส ในสมัยรัชกาล
ที่ ๖ ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัตินามกสุล โปรดให้ใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชทางราชการ แทน
รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เปลี่ยนแปลงการนับเวลาทางราชการ ให้สอดคล้องกับสากลนิยม โปรดให้ก้าหนดค้าน้าหน้าชื่อ
เด็กหญิง เด็กชาย นางสาว และนาง เปลี่ยนแปลงธงประจ้าชาติ จากธงรูปช้างเผือก มาเป็นธงไตรรงค์ ตรากฎมณเฑียร
บาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ ตามแบบประเทศยุโรป
๗. ด้านศิลปกรรม ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เริ่มมีการก่อสร้างแบบ ตะวันตก เช่น พระราชวังสราญรมย์ พระนครคีรีที่
เพชรบุรี ด้านจิตรกรรม ได้แก่ ภาพเขียนฝาผนังในพระอุโบสถ และวิหารวัดบวรนิเวศวิหาร จิตรกรเอกในสมัย
นี้ ได้แก่ ขรัวอินโข่ง ซึ่งเริ่มเขียนภาพแบบสามมิติ ตามแบบตะวันตก เป็นบุคคลแรก ในสมัยรัชกาลที่
๕ สถาปัตยกรรม ได้รับอิทธิพล แบบตะวันตกมากขึ้น ประติมากรรม ได้แก่ พระพุทธชินจ้าลอง วัดเบญจม
บพิตร พระบรมรูปหล่อพระมหากษัตริย์ ๔ รัชกาล พระราชนิพนธ์ที่ส้าคัญ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว ได้แก่ พระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน เงาะปุา ในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีการก่อสร้างตามแบบ
ไทย ได้แก่ หอประชุมโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย อนุสาวรีย์ทหารอาสา การก่อสร้างแบบตะวันตก เช่น พระราชวัง
สนามจันทร์ พระราชวังพญาไท ด้านจิตรกรรม ได้แก่ ภาพเขียนที่ฝาผนังวิหารทิศ ที่นครปฐม การก่อสร้าง
พระพุทธรูป เช่น พระแก้วมรกตน้อย แม่พระธรณีบีบมวยผม ฯลฯ ด้านดนตรี และการแสดงละคร มีความรุ่งเรือง
มาก มีการแสดงละครเพิ่มขึ้น หลายประเภท เช่น ละครร้อย ละครพูด ด้านวรรณคดี ได้มีพระราชนิพนหลายเรื่อง
เช่น เวนิสวานิช พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ฯลฯ ในรัชสมัยนี้ ได้มีการก่อตั้งวรรณคดีสโมสรขึ้นด้วย