Page 5 - เหตุการณ์สำคัญสมัยรัตนโกสินทร์
P. 5
ประวัติศาสตร์ ม. ๓ เหตุการณ์ส าคัญสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้สอน ครูจิราพร พิมพ์วิชัย 4
ครั้งส้าคัญ มีในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยมีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระบิดาแห่งกฎหมาย) เป็นก้าลังส้าคัญ ผลการ
ปฏิรูปกฎหมายและการศาล มีดังนี้
ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมาย
ตรากฎหมายขึ้นตามแบบอารยประเทศ ฉบับใหม่ และทันสมัยที่สุด คือ กฎหมาย ลักษณะอาญา
จัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ โปรดให้ปฏิรูปเพิ่มเติมดังนี้
ตั้งกรมร่างกฎหมาย
ร่างกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ทรงด้าเนินการเพื่อหาทางแก้ไขสิทธิสภาพนอกอาณาเขต เช่น การส่งทหารเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้ง
ที่ ๑
๓. ด้านเศรษฐกิจ ภายหลังการท้าสนธิสัญญาเบาว์ริงแล้ว การค้าของไทยเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก ท้าให้มีการปรับปรุง
ด้านเศรษฐกิจ เช่น ในรัชกาลที่ ๔ ทรงเปลี่ยนการใช้เงินพดด้วงมาเป็นเงินเหรียญ และขุดคลอง ตัดถนนเพิ่มขึ้นหลาย
สาย ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เปลี่ยนมาตราเงินไทยมาใช้ระบบทศนิยม ใช้ทองค้าเป็นมาตรฐานเงินตราแทนเงิน ให้ใช้
เหรียญบาท สลึง และเหรียญสตางค์แทนเงินแบบเดิม มีการจัดตั้งธนาคารของเอกชนขึ้นเป็นครั้งแรก คือ แบงก์
สยามกัมมาจล (ปัจจุบัน คือ ธนาคารไทยพาณิชย์) ในสมัยรัชกาลที่ ๖ โปรดให้ตั้งคลังออมสินขึ้น (ปัจจุบันคือ
ธนาคารออมสิน)
๔. ด้านการศึกษา ผู้มีบทบาทส้าคัญเกี่ยวกับการศึกษาของไทย ตามแบบสมัยใหม่ คือ คณะมิชชันนารีอเมริกัน ซึ่งเข้า
มาในสมัยรัชกาลที่ ๓ และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ก็ได้ตั้งโรงเรียนชายขึ้นที่ต้าบลส้าเหร่ ซึ่งปัจจุบัน คือ โรงเรียน
กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ส่วนโรงเรียนสตรีแห่งแรกในไทย คือ โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (ปัจจุบัน คือ โรงเรียนวัฒนา
วิทยา) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการปฏิรูปการศึกษาครั้งส้าคัญขึ้น เพื่อสร้างคนที่มีความรู้ให้เข้ารับราชการ เพื่อพัฒนา
ประเทศ ทั้งนี้ได้มีโรงเรียนประเภทต่าง ๆ เกิดขึ้น คือ โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก โรงเรียนพระต้าหนักสวนกุหลาบ
และโรงเรียนวัดมหรรณพาราม (โรงเรียนส้าหรับราษฎรแห่งแรก) นอกจากนี้ ยังได้โปรดให้จัดท้าแบบเรียนขึ้น ซึ่งเรียบ
เรียงโดย พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
ในคราวที่ปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้โปรดให้จัดตั้งกระทรวงธรรมการขึ้น เพื่อรับผิดชอบใน
ด้านการศึกษา และยังได้พระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงอีกด้วย ส่วนการปรับปรุงการศึกษาที่ส้าคัญในสมัยรัชกาลที่
๖ มีดังนี้
ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้นใช้ในปี พ.ศ. ๒๔๖๔
ให้เรียกเก็บเงิน "ศึกษาพลี" จากราษฎรเพื่อบ้ารุงการศึกษาในท้องถิ่น
ตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นเป็นแห่งแรก คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๕. ด้านศาสนา รัชกาลที่ ๔ ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติ ลักษณะการปกครองสงฆ์เป็นฉบับแรก โดยมีสมเด็จ
พระสังฆราช เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาสูงสุด มีมหาเถรสมาคมให้ค้าปรึกษา โปรดให้สร้างวัดขึ้นหลายแห่ง เช่น วัด
โสมนัสวิหาร วัดราชประดิษฐ์ วัดปทุมวนาราม ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระกรณียกิจที่ส้าคัญ คือ โปรดให้จัดตั้ง
สถานศึกษาส้าหรับพระสงฆ์ขึ้น ๒ แห่ง (ซึ่งต่อมา เป็นมหาวิทยาลัยของสงฆ์ หรือมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา มี
การศึกษาถึงระดับปริญญาเอก) คือ