Page 62 - โครงการทงเลม สมบรณ2_Neat
P. 62

2. การใช้พลาสติกผิดประเภท คือ นําภาชนะพลาสติกที่ไม่ได้ผลิตมาสําหรับบรรจุอาหาร มา

                     บรรจุอาหาร หรือใช้ภาชนะพลาสติกที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมที่จะใช้บรรจุอาหารชนิดนั้น เนื่องจาก

                     พลาสติกแต่ละชนิดมีคุณสมบัติต่างกัน จึงเหมาะสมที่ใช้บรรจุอาหารได้ต่างกัน

                     ข้อควรระวัง

                             • อย่าใช้ภาชนะพลาสติกที่มีสีฉูดฉาดใส่อาหาร และไม่นําภาชนะดังกล่าวใส่อาหารร้อน ใส่

                     อาหารที่มีน้ำมันเป็นส่วนผสม หรือมีไขมันอยู่ในปริมาณสูง หรืออาหารที่เป็นกรด (มีรสเปรี้ยว)

                            • การนําถุงพลาสติกที่ใช้แล้วมาบรรจุอาหาร ก็อาจเกิดอันตรายจากเชื้อโรคหรือสารที่ ตกค้าง

                     อยู่ที่พลาสติกนั้น เพราะไม่สามารถล้างออกได้หมด

                            • อย่าใช้ภาชนะพลาสติกบรรจุอาหารที่เป็นกรด (มีรสเปรี้ยว) เช่น บรรจุพริกดอง น้ำส้มสายช

                     ในถ้วยพลาสติก เพราะน้ำส้มมีฤทธิ์เป็นกรด กรดจะกัดกร่อนพลาสติกและสีที่ผสมอยู่ ในเนื้อพลาสติก

                     ซึ่งมีสารตะกั่วและปรอทละลายปนอยู่ในพริกดอง เมื่อบริโภคเข้าไป สารเหล่านี้จะสะสม ในร่างกาย ซึ่ง
                     เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง ให้ใช้แก้วกระเบื้องเซรามิก หรือสแตนเลส จึงจะปลอดภัย


                     ภาชนะบรรจุภัณฑ์ที่ทําด้วยโลหะ

                            ภาชนะบรรจุภัณฑ์ที่ทําด้วยโลหะสําหรับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารครัวเรือนที่ใช้กันมากที่สุด

                     คือ กระป๋อง ปีบ และภาชนะอะลูมิเนียม

                            1. กระป๋องบรรจุอาหาร

                            วัสดุที่ใช้ทํากระป๋องบรรจุอาหาร มี 3 ชนิด คือ

                            1. แผ่นเหล็กเคลือบดีบก (tin plate) หรือที่เรียกว่า เหล็กวิลาส


                            2. แผ่นเหล็กทินฟรี (tin free steel) เป็นแผ่นเหล็กที่ไม่ได้เคลือบดีบุก แต่เคลือบ

                            3. แผ่นอะลูมิเนียม

                     ประเภทกระป๋องบรรจุอาหาร แบ่งตามวัสดุที่ใช้ทําได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้คือ

                            1. กระป๋องเคลือบดีบุก กระป๋องชนิดนี้ทําจากแผ่นเหล็กเคลือบ ดีบุก เหมาะสําหรับบรรจุผัก

                     ผลไม้ที่มีสี อ่อน ไม่มีสีขาว ละลายน้ำ มีความเป็น กรดต่ำ (pH สูงกว่า 4.5) และมีโปรตีนต่ำ เช่น ลิ้นจี่

                     ลําไย เงาะ แห้ว สับปะรด เป็นต้น ผลไม้เหล่านี้เมื่อใส่กระป๋อง ชนิดนี้ จะทําให้มีรสชาติและสีเป็นที่
                     ยอมรับของผู้บริโภคมากกว่าบรรจุในกระป๋อง เคลือบแล็กเกอร์ ทั้งนี้เพราะกรดในผลไม้ เมื่อทําปฏิกิริยา

                     กับดีบุกที่เคลือบผิวกระป๋อง จะทําให้อาหารมีกลิ่นและรส เฉพาะ รวมทั้งทําให้อาหารมีสีขาวขึ้น






                                                                                            การบรรจุภัณฑ์ 59
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67