Page 64 - โครงการทงเลม สมบรณ2_Neat
P. 64

2.3 ประเภททั่วไป สําหรับกระป๋องบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารทั่วไปที่ไม่มีฤทธิ์เป็นกรด และไม่มี

                     กํามะถันประกอบอยู่ เช่น นมข้นหวาน นมข้นจืด

                     3. กระป๋องอะลูมิเนียม ถึงแม้การใช้แผ่นเหล็กทําภาชนะบรรจุจะมีความก้าวหน้ามาก ก็ยังมีผู้สนใจที่จะ

                     หาภาชนะบรรจุจากโลหะอื่นๆ อีก โลหะที่ได้รับความสนใจมาก คือ อะลูมิเนียม มีคุณสมบัติทนต่อการ

                     กัดกร่อนของกรดและมีน้ำหนักเบา กระป๋องอะลูมิเนียมที่ใช้บรรจุอาหาร เช่น ปลากระป๋อง เครื่องดื่ม
                     นมผง ฯลฯ กระป๋องอะลูมิเนียมเกือบทุกชนิดเป็นแบบที่ใช้ความ สะดวกในการเปิด เช่น มีแหวนสําหรับ

                     เปิดฝาออก หรือเปิดขอบข้างริมตะเข็บ

                     2. ปิ๊ปบรรจุอาหาร


                            พื้นที่ใช้บรรจุอาหาร มี 2 ชนิด คือ ปี๊บเคลือบดีบุก และปี๊บเคลือบแล็กเกอร์ ซึ่งปี๊บ แต่ละชนิด
                     จะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับกระป๋องบรรจุอาหาร


                            คุณภาพของปี๊ปและกระป๋องบรรจุอาหาร ขึ้นอยู่กับความหนาของแผ่นเหล็ก น้ำหนักของดีบุก
                     ที่เคลือบบนแผ่นเหล็ก แล็กเกอร์ที่เคลือบ ความสนิทแน่น รอยต่อของตะเข็บ ขนาดของปี๊บหรือกระป๋อง

                     และคุณลักษณะของอาหาร และวิธีการเก็บรักษาปี๊บ

                     วิธีการเก็บรักษาปีบบรรจุอาหาร


                            1. สถานที่ตั้ง ไม่ตั้งหรือเก็บปืนในที่ชื้นแฉะ เปียกน้ํา ไม่ตากแดดและฝน

                             2. การวางซ้อน ปีบที่บรรจุอาหารหนักประมาณ 20 กิโลกรัมต่อปีบ สามารถวางซ้อนกัน

                     ได้ไม่เกิน 4 ชั้น

                     วิธีการบรรจุอาหารกระป๋องและปี๊บ


                            มีทั้งผ่านและไม่ผ่านขบวนการทําลายเชื้อจุลินทรีย์ด้วยความร้อน (sterilization) ซึ่งขึ้นอยู่ กับ
                     จุดประสงค์ที่ต้องการ คือ ถ้าผ่านขบวนการทําลายเชื้อจุลินทรีย์ด้วยความร้อน อาหารกระป๋อง ที่บรรจุ

                     จะสามารถเก็บได้นาน เพราะปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ที่จะทําให้อาหารเสีย แต่ถ้าไม่ผ่าน ขบวนการนี้ มัก

                     มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไอน้ำ ก๊าซ และแสงสว่างจากภายนอกเท่านั้น ซึ่งมักใช้ บรรจุอาหารแห้ง เช่น
                     ใบชา นมผง คุกกี้ ฯลฯ


                            อาหารกระป๋องจะผ่านขบวนการฆ่าเชื้อหลังการปิดผนึกเรียบร้อยแล้ว โดยใส่ในหม้อฆ่า เชื้อที่มี
                     ความดันสูง และใช้ความร้อนถึง 250 องศาฟาห์เรนไฮต์ เป็นระยะเวลานาน 30 ถึง 90 นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่

                     กับชนิดของอาหาร วิธีการฆ่าเชื้อนี้ จะฆ่าจุลินทรีย์ภายในกระป๋อง ดังนั้น อาหารจึงถูก ถนอมไว้ได้นาน

                     อาจจะถึงสองปี ในอนาคตอันไม่ไกล การเชื่อมตะเข็บข้างกระป๋องจะใช้แสง เลเซอร์แทนไฟฟ้า





                                                                                            การบรรจุภัณฑ์ 61
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69