Page 68 - โครงการทงเลม สมบรณ2_Neat
P. 68
รูปที่ 4.8 ภาชนะบรรจุภัณฑ์ที่ทําด้วยไม้
ประสิทธิภาพของวัสดุบรรจุภัณฑ์
สําหรับการเก็บรักษาในปริมาณน้อย สามารถเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ แทน หรือเสริม
กับโรงเก็บ ประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ทํา ซึ่งได้แก่
1. ป้องกันความชื้น คือ ไอของความชื้นจะไม่สามารถผ่านได้เลย เช่น กระป๋องดีบุก อะลมิ
เนียม ขวดแก้ว พลาสติกแข็ง ถุงพลาสติกความหนา 7 มิลลิเมตรขึ้นไป ซึ่งจะต้องมีการเชื่อม ปิดสนิท
โดยความร้อน หรือมีปะเก็นปิดเสริมที่ฝา
2. ต้านทานความชื้น คือ ไอความชื้นสามารถซึมผ่านได้ในระยะยาว เช่น พลาสติกบาง
ถุงพลาสติกสานที่มีเยื่อพลาสติกบซ้อนภายใน รวมทั้งถุงพลาสติกชนิดหนาที่ใช้การเย็บปิดปากถุง ขวด
แก้วและกระป๋องกดปิดด้านบน ซึ่งไม่มีปะเก็นเสริมที่ผ่า
3. อากาศผ่านได้ เช่น ถุงผ้า ถุงกระดาษ และกระสอบพลาสติกสาน
เมล็ดพันธุ์ที่บรรจุในภาชนะปิดผนึกหรือปิดสนิท (หมายถึง ที่ทําจากวัสดุตามข้อ 1) ตัวอย่าง
เช่น พืชผักขนาดเล็กหรือไม้ดอกที่บรรจุในกระป้องปิดผนึก จะได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศ
ภายนอกน้อยมาก แต่ที่สําคัญคือ จะต้องลดความชื้นเมล็ดให้ต่ํากว่าการเก็บธรรมดา 2-3% หรือ รักษา
ระดับไว้ที่ 5-8% ซึ่งความชิ้นที่ระดับนี้จะเป็นตัวกําหนดความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศภายใน ภาชนะปิดที่
จุดสมดุล ประมาณ 30-35% จึงจะทําให้เมล็ดมีอายุยาวนานมากกว่า 4 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ เนื่องจากการนํา
เมล็ดที่มีความชื้นสูงบรรจุในภาชนะปิด เมล็ดจะหายใจและเปลี่ยนแปลงสภาพที่ใช้ เก็บรักษามีเชื้อรา
ทําให้เมล็ดเสื่อมและตายเร็วกว่าการบรรจุในภาชนะที่ยอมให้อากาศผ่านบรรจุภัณฑ์ ที่ทําจากวัสดุตาม
ข้อ 2 ก็จะต้องลดความชื้นขณะเริ่มบรรจุให้อยู่ในระดับเดียวกับภาชนะปิดสนิทด้วยส่วนการเก็บรักษา
เมล็ดพันธุ์หลัก ก็ใช้หลักการลดความชื้นเมล็ดพันธุ์ให้อยู่ในระดับที่เก็บ รักษาไว้ได้ 3-5 ปี
การบรรจุภัณฑ์ 65