Page 13 - วิจัยยยย
P. 13
บทที่ 2
แนวคิดและทฤษฎี
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เกิดขอบเขตที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้วิจัยจึง
ได้อาศัยกรอบแนวคิดและทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อมาสนับสนุนเนื้อหา และได้น าเสนอตามหัวข้อ
ดังต่อไปนี้
2.1 ประวัติความเป็นมาของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
2.2 พฤติกรรมการใช้จ่ายกองทุนกู้ยืมการศึกษา
2.3 ปัญหาการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการศึกษาของนักเรียน
2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ประวัติความเป็นมาของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
รัฐบาลกระทรวงการคลัง กระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย ได้พิจารณาเห็นความส าคัญ
อย่างยิ่งของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อรองรับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถ
ในการพัฒนาการศึกษาในขณะเดียวกันเพื่อแก้ไขความเหลื่อมล ้าด้านการศึกษาในสังคมด้วยการให้โอกาส
แก่นักเรียน นักศึกษาที่ต้องโอกาส จึงก าหนดเป็นนโยบายให้ภาครัฐบาลสนับสนุนทางการเงิน โดยการ
จัดตั้งกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียนนักศึกษาที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2538 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการจัดตั้งกองทุนเงินให้
กู้ยืมเพื่อการศึกษาโดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ 3 หน่วยงาน คือกระทรวงกี่คลัง กระทรวงศึกษาธิการ และ
ทบวงมหาวิทยาลัย โดยมีธนาคารกรุงไทยจ ากัด(มหาชน) ท าหน้าที่เป็นผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม และ
เริ่มให้นักเรียน นักศึกษากู้ยืมเงินได้ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา บนพื้นฐานของหลักการว่า “เพื่อให้เงินกู้ยืมแก่
นักเรียน นักศึกษาซึ่งมาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย ส าหรับศึกษาต่อตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้ง
สายสามัญ และสายอาชีวะจนถึงระดับปริญญาตรีในประเทศ รวมทั้งการศึกษานอกระบบต่อเนื่องจากระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้นตามหลักสูตรและประเภทที่กระทรวงศึกษาธิการก าหนด โดยนักเรียน นักศึกษาจะต้อง
ช าระเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยอัตราต ่า เมื่อจบการศึกษาแล้ว” ภายหลังเมื่อรัฐเห็นความส าคัญของกองทุนเงินให้
กู้ยืมเพื่อการศึกษามากขึ้น จึงได้ออกพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 และจัดตั้ง
5