Page 16 - โครงงานเผยแพร่ภูมิปัญญาย้อมสีผ้าจากมูลควายกลุ่มที่5sec02
P. 16
9
ด้าน นายวิทยา จันทร์ฉลอง ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ก็ได้ให้ความส าคัญในเรื่องนี้ โดยมี
การจัดกิจกรรมอนุรักษ์และส่งเสริมการเลี้ยงควายไทยอย่างต่อเนื่อง โดยร่วมกับนางสาวเยาวนิตย์ บุรี
รักษา ปศุสัตว์จังหวัดสกลนคร อาทิ การจัดพิธีสู่ขวัญควาย การประกวดควาย การแต่งงานควาย
ส่งเสริมการดื่มนมควายซึ่งมีโปรตีนสูง ฯ นอกจากนี้มูลควาย ยังสามารถน ามาเป็นส่วนประกอบที่
ส าคัญ ในการย้อมผ้า ตามภูมิปัญญาชาวบ้านอีกด้วย
โดยที่บ้านนาเชือก ม.9 ต.แร่ อ.พังโคน จ.สกลนคร ในอดีตชาวบ้านนิยมย้อมผ้าด้วยมูล
ควาย เพียงเพื่อนุ่งห่ม ใส่ไปท าไร่-ท านา แต่ปัจจุบันกลายเป็นสินค้าโอท็อป 5 ดาว และสร้างชื่อเสี่ยง
ให้กับจังหวัดสกลนคร บ้านนาเชือกกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ส าคัญ นักท่องเที่ยวจะ
ได้เห็นวิถีชีวิตคนในชนบทแท้ๆ
ชาวบ้านนาเชือกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเลี้ยงปศุสัตว์ วัว-ควาย ซึ่งมีมากกว่า 1,000 ตัว และ
ด้วยท าเลที่ตั้งบ้านนาเชือกอยู่ริมน้ า ท้ายเขื่อนน้ าอูน เขื่อนขนาดยักษ์ ซึ่งนอกจากจะกักเก็บน้ าเพื่อ
การเกษตร ความจุ มากกว่า 520 ล้าน ลบ.ม. ในน้ าอูนยังมีปลาหลากหลายชนิด อุดมไปด้วยนกน้ า
น้ าอูนทอดยาวบรรจบกับเทือกเขาภูพาน วิวทิวทัศน์อันสวยงาม ป่าไม้ยังคงอุดมสมบูรณ์ มีเกาะแก่ง
กลางน้ ามากมาย
นางสายสุนี ไชยหงษา ฝ่ายประสานงานกลุ่มท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ผ้าย้อมมูลควายบ้านนา
เชือก กล่าวว่า มีหลายหน่วยงานเข้ามาส่งเสริมการเลี้ยงควาย และสนับสนุนให้หมู่บ้านเป็นหมู่บ้าน
ตัวอย่าง ภายใต้ค าขวัญ “วัดดอยงามล้ า วัฒนธรรมภูไท ปลาใหญ่เขื่อนน้ าอูน แหล่งอุดมสมบูรณ์ภู
พาน งามตระการผ้าย้อมมูลควาย มากมายอารยะธรรม น้อมน าเศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่
เทคโนโลยี”
นอกจากนี้บ้านนาเชือกยังได้รับคัดเลือก โครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative
Industry Village : CIV) โดยกระทรวงอุตสาหกรรม คือเป็นหมู่บ้านแห่งความสมดุล ที่น าทุน
วัฒนธรรม วิถีชีวิต และอัตลักษณ์ชุมชน มาผนวกกับความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ เพื่อสร้าง
มูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของชุมชน เชื่อมโยงกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เริ่มต้นปี 59 เป็น
ต้นมา
บ้านนาเชือกได้รับคัดเลือกเป็นหมู่บ้านต้นแบบ CIV Phase 1 พัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรม
สร้างสรรค์ ระยะที่ 1 มีทั้งหมด 10 หมู่บ้าน โดยได้น้อมน าศาสตร์พระราชา “การสร้างความเข้มแข็ง
จากภายใน” และ “เศรษฐกิจพอเพียง” มาประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนโครงการ ภายในหมู่บ้านมี
ศูนย์เรียนรู้พัฒนาอาชีพ ทอ ถัก จัก สาน บ้านนาเชือก ไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ดูกรรมวิธีการผลิตผ้าย้อม
มูลควาย ตั้งแต่เริ่มผลิตจนทักทอเป็นผลิตภัณฑ์ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านแท้ๆ
โดยการหมักมูลควายในเวลาที่เหมาะสม ก่อนน าไปต้มฆ่าเชื้อนานกว่าชม. น าผ้าฝ้ายล้างน้ า
ก่อนน าลงไปย้อมกับมูลควาย ซึ่งเป็นการย้อมแบบร้อนนานกว่า ชม. แล้วน าไปล้างน้ าจนสะอาด