Page 15 - โครงงานเผยแพร่ภูมิปัญญาย้อมสีผ้าจากมูลควายกลุ่มที่5sec02
P. 15

8







                       ความเกี่ยวข้องกันของอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อม สติปัญญาหรือความรู้เป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์บรรลุ
                       เป้าหมายของชีวิต ปฏิบัตินิยมเห็นว่าในขณะที่เรายังไม่รู้โครงสร้างของมนัส (ความคิด) จึงควรยึด
                       ประสิทธิภาพในการปฏิบัติไปก่อน


                              จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) เป็นนักปฏิบัตินิยมแบบอุปกรณ์นิยม (Instrumentalist) เพราะ
                       สอนว่ามนัส (ความคิด) ของมนุษย์ฉลาดขึ้นโดยการปฏิบัติ จึงสรุปเป็นวิธีสอนว่าเรียนโดยการปฏิบัติ

                       (learning by doing) ดิวอี้ถือว่าความจริงอยู่ที่ประสิทธิภาพของการให้ปัญหาเป็นเครื่องมือเพื่อ
                       ประโยชน์ในการด ารงชีพดังนั้นต้องฝึก


                              กล่าวคือ ปฏิบัตินิยมมีทัศนะว่าโลกและสิ่งต่าง ๆ ในโลกเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ความรู้ได้มาจาก
                       ประสบการณ์ ไม่ใช่สิ่งที่ไหลเข้ามาในทางจิตหรือเป็นสิ่งที่ธรรมชาติให้แก่จิต แต่จิตของเราเป็นตัว

                       ด าเนินการในการรับรู้ การเข้าใจ และการเชื่อ ฯลฯ เป็นต้น (พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์,2558)

                              ในวิชา 000153 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ศึกษาได้เรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับภูมิปัญญาต่าง ๆ เพื่อ
                       ต่อยอดในการท าโครงงาน และได้มีการจัดท าโครงงานเผยแพร่ภูมิปัญญาย้อมสีผ้าจากมูลควายขึ้นมา

                       โดยมีการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ทุกขั้นกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดปฏิบัตินิยม เป็น
                       แนวคิดของจอห์น ดิวอี้ที่เน้นการเรียนรู้แบบปฏิบัติ โดยมีผู้เรียนเป็นหัวใจส าคัญในการเรียนรู้ ผู้ศึกษา

                       ได้มีการลงพื้นที่ ณ บ้านนาเชือก อ าเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร เพื่อท าการสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจาก
                       ประธานกลุ่มทอผ้าย้อมสีผ้าจากมูลควายถึงความเป็นมาของภูมิปัญญา กระบวนการผลิต และการ

                       แปรรูปผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  เมื่อได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์แล้ว ผู้ศึกษาจึงได้จัดท าวี
                       ดีทัศน์เกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ ที่ผู้ศึกษาได้เรียนรู้ เมื่อจัดท าวีดีทัศน์เสร็จสิ้น จึงเผยแพร่ลงโซเชี่ยล
                       มีเดียต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาย้อมสีผ้าจากมูลควายแก่สารธารณะให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย




                       วรรณกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับโครงงำน


                              ประวัติผ้ำย้อมมูลควำยโดยสังเขป

                              นายอภิชาต ชาไชย (2561) ได้เขียนบทความเกี่ยวกับประวัติผ้าย้อมมูลควายโดยสังเขปดังนี้

                       “ผ้าย้อมมูลควาย”   ค่านิยมการเลี้ยง “ควาย” หรือ “กระบือ” ตามบ้านเรือนชนบทในภาคอีสานนั้น
                       ถือว่าเป็นวิถีที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แต่ปัจจุบันพบว่า ควายไทยได้ลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว

                       จนน่าใจหาย และก าลังเลือนหายไปอย่างช้าๆ  ควายอยู่คู่เมืองไทยมาช้านาน ในอดีตยังพบว่านักรบ
                       ไทยก็เคยใช้ควายในการต่อสู้กับอริราชศัตรู  ส าหรับจังหวัดสกลนครก็มีการส่งเสริมให้เกษตรกร
                       ตระหนักถึงความส าคัญ และอนุรักษ์สายพันธุ์ควาย  เพื่อไม่ให้ควายสูญหายไปจากประเทศ จังหวัด

                       สกลนคร มีควายประมาณ 60,000 ตัว และทั่วประเทศ มีประมาณ 1 ล้านตัว
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20