Page 30 - ED 211
P. 30

ความรู้ในการจัดความสัมพันธ์แบบร่วมมือ  และเอื้อเฟื้อกับเพื่อนมนุษย์เห็นได้จากกฎเกณฑ์

                   หรือแนวทางปฏิบัติในการหาปลาที่ได้รับการยอมรับและถือปฏิบัติในหมู่ชาวบ้านด้วยกันเอง  โดยทั่วไป

                   บริเวณที่มีปลาชุกชุมมักเป็นจุดรวมของการหาปลาหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า“ลวง”  ลวงที่มีชาวบ้านมาหา
                   ปลาจ านวนมากเช่น ลวงวังสะแบงนั้น  ในช่วงหน้าปลาขึ้นจะมีชาวบ้านทั้งจากอ าเภอเมือง วารินช าราบ

                   พิบูลมังสาหาร  จังหวัดอุบลราชธานี   รวมทั้งชาวบ้านจากอ าเภอศรีเมืองใหม่  จังหวัดยโสธรที่ทราบข่าว

                   ว่าปลาขึ้นล่องเรือมาหาปลาร่วมกันถึงประมาณ  100-200  ล าเรือ  การหาปลาร่วมกันนี้ด าเนินไปอย่าง
                   ราบรื่นด้วยการ“เข้าคิวหาร่วมกัน”  โดยชาวบ้านที่มาก่อนจะหาก่อนเรียงตามล าดับกันไป  เมื่อกู้เครื่องมือ

                   ขึ้นแล้วก็จะมาเรียงคิวต่อใหม่อีกครั้งหนึ่ง  นอกจากนั้นชาวบ้านยังมักจับปลาร่วมกันหรือ“หากินน ากัน”

                   หรือ “หาสัมผัสกัน” อีกด้วย  ดังเช่นการจับปลาในลวงมอง  (จุดรวมของการหาปลาที่ท้องน้ าเรียบและน้ า
                   ลึกซึ่งท าให้ตาข่ายเป็นเครื่องมือของการจับปลาที่มีประสิทธิภาพที่สุด)  ชาวบ้านจะน าตาข่ายมาเรียงต่อ

                   กันแล้วช่วยกันไล่ปลาเข้าหาตาข่ายเพื่อไม่ให้ปลาหลบหลีกไปได้  การ“หากินน ากัน” จึงเป็นแนวปฏิบัติ

                   เพื่อลดความเสี่ยงในการจับปลาด้วยการจัดความสัมพันธ์ในรูปของความร่วมมือ  แม้พยายามลดความ
                   เสี่ยงในการจับปลา แต่บางคนก็อาจจับปลาได้น้อยหรือจับปลาไม่ได้เลย  ดังนั้นคนที่หาปลาได้มากจึงมัก

                   แบ่งปลาให้คนที่หาปลาได้น้อยหรือไม่ได้เลย  ศีลธรรมของการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  หรือความอาทรต่อผู้อื่นจึง

                   หลอมรวมอยู่ในความรู้ในการหาปลาด้วย  เพื่อก ากับการประพฤติปฏิบัติ  เพราะเป็นเงื่อนไขของสังคมที่
                   ต้องพึ่งพาอาศัยกัน  ซึ่งท าให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

                               พิธีเลี้ยงลวงซึ่งเป็นพิธีกรรมที่จัดขึ้นในช่วงเดือนสามก่อนที่ฤดูกาลแห่งการอพยพของฝูงปลา

                   จะเริ่มขึ้นแสดงถึงการมองแม่น้ าในฐานะของสิ่งศักดิ์สิทธิ์  การท าพิธีเลี้ยงลวงเป็นเสมือนการขออนุญาตแม่
                   ย่านางหรือผีเสื้อน้ า  เพื่อขอหาปลาในแม่น้ ามูน  พร้อมทั้งอ้อนวอนขอให้ช่วยคุ้มครองให้จับปลาได้   ใน

                   การประกอบพิธีกรรม  ชาวบ้านจะใช้ปลาบ่าวปลาสาวเพื่อบูชาแม่ย่านางหรือผีเสื้อน้ า  เพราะถือว่าเป็น
                   ปลากลุ่มแรกที่ว่ายทวนน้ าขึ้นมาในแม่น้ ามูน  ชาวบ้านที่จับปลาในบริเวณเดียวกันไม่เพียงร่วมกันประกอบ

                   พิธีเลี้ยงลวงทุกปีเท่านั้น  หากแต่ยังร่วมมือปรับปรุงลวงหรือที่เรียกว่าการซาวลวงอีกด้วย  ในการปรับปรุง

                   ลวงนั้น  หากเป็นลวงที่เป็นขุมซึ่งท้องน้ าเรียบและเป็นดินทราย  และเครื่องมือที่ใช้จับปลามักเป็นตาข่าย

                   หรือที่ชาวบ้านเรียกลวงมองนั้น  ชาวบ้านจะช่วยกันซาวลวงโดยด าน้ าน าดินไปกลบให้ท้องน้ าเสมอกัน
                   เพื่อไม่ให้หินโผล่มาเกี่ยวตาข่ายขาด  หากเป็นลวงกรวดซึ่งมักใช้ตาข่ายอวนทับตลิ่งในการจับปลา  จะซาว

                   ลวงโดยการน าทรายใส่กระสอบไปทับหินที่เกี่ยวตาข่าย  ถ้าบริเวณที่จับปลาเป็นแก่ง จะปรับปรุงโดยการ
                   “ปักที่” ด้วยการน าเสาไปปักที่โพรงของถ้ าหินต่าง ๆ เพื่อให้เป็นที่เกี่ยวโพงพางให้อยู่นิ่งไม่ไหลไปกับ

                   กระแสน้ า  ในการปรับปรุงลวงนี้ชาวบ้านจะท าโดยการเก็บเงินจากคนที่จับปลาในลวงและร่วมมือกันซาว

                   ลวงทุกปี  หากเป็นลวงที่มีชาวบ้านจากต่างถิ่นมาจับปลาด้วย  การซาวลวงก็มักเก็บเงินจากคนที่อยู่ใน
                   ชุมชนเดียวกันก่อน  แต่ชาวบ้านที่ไม่ได้มาร่วมซาวลวงก็มักจ่ายเงินให้หากทราบว่าลวงที่ตนเองมาจับปลา









                                                       เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 24
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35