Page 32 - ED 211
P. 32
เหลือให้จับจองได้อีกแล้ว เพื่อจะได้มีข้าวเพียงพอบริโภคตลอดทั้งปี ชาวบ้านที่อพยพเข้ามาจึงเริ่มจับ
จองที่ไร่เพื่อปลูกข้าวเสริมกับข้าวนา พื้นที่ป่าซึ่งถูกจับจองก่อนจึงมักเป็นที่ราบริมล าห้วย แต่เนื่องจากการ
ปลูกข้าวไร่เป็นการปลูกในระบบไร่หมุนเวียน ต้องจับจองที่ไว้หลายแปลงเพื่อให้รอบการหมุนเวียน
ยาวนานเพียงพอให้ดินพักและฟื้นตัวได้ทัน พื้นที่ป่าที่ถูกเปลี่ยนเป็นที่ไร่จึงมีระยะห่างไกลจากหมู่บ้าน
ออกไปทุกที พื้นที่ป่าที่ถูกเปลี่ยนเป็นไร่หมุนเวียนเพื่อปลูกข้าวไร่บางแปลงมีระยะห่างจากหมู่บ้านโดยใช้
เวลาเดินเกือบหนึ่งถึงสองชั่วโมง ชาวบ้านจึงมักปลูกเพิงไว้พักแรมชั่วคราวในไร่ข้าว ปลูกพริก และ
พืชผักสวนครัวไว้บริโภคในระหว่างมาถอนหญ้าซึ่งโดยทั่วไปมักกินเวลาครั้งละหลายวัน ดังนั้น เพื่อเป็น
หลักประกันความปลอดภัย การจับจองที่ไร่จึงมักจับจองร่วมกันในระหว่างญาติพี่น้องหรือเพื่อนสนิท
การสร้างและปรับปรุงเหมืองฝายก็ด าเนินไปภายใต้กฎของการพึ่งพาและแบ่งปันเช่นเดียวกัน เพราะการ
สร้างฝายกั้นล าน้ าและการขุดเหมืองเพื่อน าน้ าเข้าสู่ที่นา เป็นงานที่ยากล าบากมาก โดยทั่วไป ชาวบ้าน
จึงมักชักชวนเจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียงมาช่วยกันสร้างเหมืองฝาย แรงงานที่แต่ละครอบครัวส่งมา
ท างานขึ้นอยู่กับปริมาณน้ าที่ต้องการ หากต้องการน้ า 1 ต๊าง ต้องส่งสมาชิกในครอบครัวมาช่วย 1
คน แต่หากต้องการน้ า 2 ต๊าง ต้องส่งสมาชิกในครอบครัวมาช่วย 2 คน ส่วนการปรับปรุงเหมืองหรือ
การขุดลอกเอาขี้เหมืองออกซึ่งจะกระท าทุกปีก่อนเริ่มฤดูเพาะปลูกใหม่นั้น ยึดหลักเดียวกันคือจ านวน
สมาชิกที่แต่ละครัวเรือนส่งมาท างานขึ้นอยู่กับปริมาณน้ าที่ต้องการ การพึ่งพาอาศัยและการแบ่งปันกันยัง
พบในการล่าสัตว์อีกด้วย ทั้งนี้เพราะโดยทั่วไปชาวบ้านมักล่าสัตว์ร่วมกันครั้งละหลายคนเพื่อป้องกัน
อันตรายและคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเนื้อสัตว์ที่ล่าได้ร่วมกันนี้จะน ามาแบ่งปันกัน การปลูกบ้าน
ก็ด าเนินไปภายใต้กฎดังกล่าว เพราะเมื่อสมาชิกคนใดคนหนึ่งในชุมชนต้องการปลูกบ้าน เขาจะน าขัน
ข้าวไปบอกกล่าวกับสล่า ซึ่งเป็นชาวบ้านที่มีความรู้ในการปลูกบ้าน โดยทั่วไปสล่าที่ได้รับขันข้าวจะรับ
หน้าที่เสมือนผู้คอยควบคุมการก่อสร้าง ส่วนแรงงานในการก่อสร้างมาจากการเอามื้อร่วมกันในระหว่าง
ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน และสมาชิกคนอื่นในชุมชน การเอามื้อเริ่มจากการตัดไม้ในป่า ชักลากมาที่
บ้าน และน ามาเลื่อยเพื่อแปรรูปเป็นไม้แผ่น จากนั้นจึงร่วมกันปลูกบ้าน การเอามื้อและการตอบมื้อจึง
เกิดขึ้นซ้ าไปซ้ ามาในชุมชน ส่วนความเชื่ออันเป็นแหล่งที่มาของอ านาจทางศีลธรรมเป็นความเชื่อที่
หลากหลาย ทั้งความเชื่อเรื่องผี ความเชื่อทางไสยศาสตร์ ความเชื่อทางพุทธศาสนา ความเชื่อทาง
โหราศาสตร์ และการนับถือผู้อาวุโส เป็นต้น ความเชื่ออันหลากหลายเหล่านี้ เป็นแหล่งที่มาของอ านาจ
ทางศีลธรรมในชุมชน เพราะพลังอ านาจที่มีอยู่ในระบบความเชื่อสามารถควบคุมไม่ให้สมาชิกของชุมชน
ละเมิดกฎเกณฑ์หรือระเบียบที่สังคมยึดถือหรือควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกให้อยู่ในกรอบของจารีต
ประเพณี นอกจากพลังอ านาจที่มีอยู่ในความเชื่อเหล่านี้จัดระเบียบความสัมพันธ์ทางสังคมในชุมชนแล้ว
พลังอ านาจที่มีอยู่ในความเชื่อเรื่องผียังท าให้ชาวบ้านรู้สึกถึงความเป็นพวกเดียวกันหรือความเป็นญาติ
เดียวกันอีกด้วย ชาวดอนแก้วนับถือผี 4 ประเภทคือ 1) ผีบรรพบุรุษ คือผีปู่ย่า แต่ละตระกูลจะมี
หัวหน้าของตระกูลผู้มีผีปู่ย่าเดียวกันหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเก๊าผี หรือมือต้น หรือครอบครัวต้น คอยดูแล
เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 26