Page 8 - ED 211
P. 8
2
และชุดของตัวอย่างหรือตัวแบบ (Exemplars) กฎ ทฤษฎี การประยุกต์ใช้ การพัฒนาและการใช้
อุปกรณ์ที่ได้รับการยอมรับในการปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และถูกท าให้เป็นแบบอย่าง จนท าให้เกิด
ประเพณีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสอดคล้องกันของชุมชนวิทยาศาสตร์ กระบวนทัศน์จึงเป็น
รากฐานที่ท าให้เกิดข้อผูกมัด (Commitment) ในเรื่องกฎและมาตรฐานในปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
ส าหรับการปฏิบัติในครั้งต่อไป หรืองานวิจัยในอนาคต และท าให้เกิดสิ่งที่คูห์นเรียกว่า “วิทยาศาสตร์
ปกติ” (“Normal Science”) ดังข้อความตอนหนึ่งในบทน าว่า
พัฒนาการขั้นต้นๆ ของวิทยาศาสตร์ส่วนมากมีลักษณะเป็นการแข่งขันกันอย่างต่อเนื่อง
ระหว่างทัศนะเกี่ยวกับธรรมชาติที่แตกต่างกันจ านวนหนึ่ง ซึ่งต่างก็มีส่วนมาจากการสังเกต
และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และสอดคล้องกับการสังเกตและวิธีการดังกล่าวอย่างหลวมๆ
สิ่งที่ท าให้ส านักต่างๆ เหล่านี้แตกต่างกันไม่ใช่เพราะความผิดพลาดด้านวิธีการ แต่ละทัศนะ
ต่างก็เป็น “วิทยาศาสตร์” ด้วยกัน หากแต่เป็นเพราะสิ่งที่เราจะเรียกว่า ความเป็นไป
ไม่ได้ที่จะประเมินด้วยเกณฑ์เดียวกัน (Incommensurable) ระหว่างแต่ละส านักใน
การเห็นโลกและด าเนินการทางวิทยาศาสตร์ต่อสิ่งที่เห็นนั้น (คูห์น. 2544: 6 เน้นโดย
ผู้เขียน)
ในทัศนะของคูห์น (2544) ชุมชนวิทยาศาสตร์มักยับยั้งความคิดใหม่ๆ ซึ่งท าลายความเชื่อใน
ระดับรากฐานเสมอ แต่เมื่อไม่สามารถหลีกเลี่ยงความคิดใหม่ ๆ หรือปัญหาผิดปกติซึ่งท าลายประเพณี
การปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ได้ จะท าให้เกิดการค้นคว้าเพื่อน าไปสู่ชุดของข้อผูกมัดชุดใหม่และชุดของข้อ
ผูกมัดนี้จะเป็นรากฐานให้กับปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งคูห์นเรียกว่า การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ การ
ปฏิวัติวิทยาศาสตร์หรือการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ท าให้ชุมชนวิทยาศาสตร์ยกเลิกทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับ
ในสมัยหนึ่ง เนื่องจากไปกันไม่ได้กับทฤษฎีใหม่ ท าให้มองปัญหาที่เหมาะกับการค้นคว้าแตกต่างไปจาก
เดิมเพราะการเกิดขึ้นของเกณฑ์ชุดใหม่ การปฏิวัติวิทยาศาสตร์จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับรากฐาน
เพราะเป็นการเปลี่ยนโลกทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ โดยทั่วไปมักกิน
เวลานานหลายทศวรรษหรือศตวรรษ เช่น การปฏิวัติของโคเปอร์นิคัส (Nicholas Copernicus. 1473-
1543) ซึ่งใช้เวลาเกือบหนึ่งร้อยปีในการเข้ามาแทนที่ดาราศาสตร์แบบโทเลมี (Ptolemy) ที่เชื่อว่าโลก
เป็นศูนย์กลางของจักรวาล (โอคาชา. 2549: 2-5) การปฏิวัติของดาร์วิน (Charles Robert Darwin.
1809-1882) และการปฏิวัติของไอน์สไตน์ (Albert Einstein. 1879-1955) โดยนัยนี้ การเปลี่ยน
กระบวนทัศน์ในทัศนะของคูห์นจึงเป็นเรื่องของช่วงเวลา ซึ่งนักประวัติศาสตร์ใช้ค าว่า ยุคสมัย
2 น าชัย ชีววิวรรธน์ (2560: 94) ผู้แปลหนังสือเรื่อง The Meaning of Science ของ Tim Lawens ใช้ค าว่า ตัว
แบบ แทนค าศัพท์ Exemplars โดยอธิบายว่าหมายถึงตัวอย่างของข้อตกลงที่เห็นตรงกันว่า อะไรคือความส าเร็จทางวิทยาศาสตร์อัน
ส าคัญยิ่ง
เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 2