Page 9 - ED 211
P. 9

นอกจากคูห์นแล้ว ฟริตจอฟ คาปร้า (Fritjof Capra.  1939-) เป็นนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่ท าให้

                   กระบวนทัศน์แพร่หลายยิ่งขึ้น  เนื่องจากกระบวนทัศน์เป็นสิ่งที่เขาคิดและเขียนถึงในงานเขียนหลายชิ้น

                   เช่น  The Tao of Physics (1975)  The Turning Point (1982)  Uncommon Wisdom (1988) The
                   Web of Life (1996)  The Hidden Connections (2002) และ The Systems View of Life (2014)

                   ใน Uncommon Wisdom คาปร้าอธิบายว่าเขาใช้ “กระบวนทัศน์” ในความหมายที่มีขอบเขตกว้าง

                   มากกว่าคูห์น  เพราะเขาหมายถึงความครบถ้วนสมบูรณ์ของความคิด  การรับความรู้และคุณค่าที่
                   ก่อให้เกิดวิสัยทัศน์ (Vision) อย่างใดอย่างหนึ่งต่อความเป็นจริง  อันเป็นวิสัยทัศน์พื้นฐานที่สังคมได้จัด

                   ระเบียบขึ้นมา (คาปร้า.  2532: 27)  ในจุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ คาปร้าเสนอว่าปัญหาวิกฤติที่โลกเผชิญอยู่

                   และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น  ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเงินเฟ้อ  การว่างงาน  วิกฤตการณ์พลังงาน  การ
                   สาธารณสุข  ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา  ล้วนเป็นปัญหาหลายด้านของ

                   วิกฤติการณ์ที่เกี่ยวกับทัศนะการรับรู้โลก  ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เรายังพยายามที่จะประยุกต์ใช้ความคิด

                   ของโลกทัศน์ที่พ้นสมัย--โลกทัศน์วิทยาศาสตร์กลไกแบบเดสการ์ตส์และนิวตัน  ซึ่งไม่อาจช่วยให้เราเข้า
                   ใจความเป็นจริงหรืออธิบายโลกที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันได้อีกต่อไป  เราจึงต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์

                   จากการมองความเป็นจริงอย่างกลไก มาเป็นแบบองค์รวม (คาปร้า.  2539)

                               ส่วนกูบาและลินคอล์น (Egon Guba.  1924-1944 and Yvonna Sessions Lincoln.
                   1994) ได้น ามโนทัศน์กระบวนทัศน์มาใช้ในการอธิบายความแตกต่างในการแสวงหาความรู้ความจริง

                   ระหว่างส านักปฏิฐานนิยม (Positivism)  หลังปฏิฐานนิยม (Postpositivism)  ทฤษฎีวิพากษ์ (Critical

                   Theory)  และส านักสร้างสรรคนิยม (Constructivism)  ซึ่งเขามองว่าความแตกต่างดังกล่าวเป็นผลมา
                   จากการมีกระบวนทัศน์ที่แตกต่างกัน ซึ่งหมายถึงชุดของความเชื่อพื้นฐาน (Basic Beliefs) หรือ

                   อภิปรัชญา (Metaphysics) ที่เกี่ยวข้องกับความจริงสูงสุดหรือโลกทัศน์ ทั้งนี้เพราะกระบวนทัศน์ที่นักวิจัย
                   ยึดถือ จะท าให้มีข้อสมมติพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของความจริงและวิธีการที่แตกต่างกัน  กระบวนทัศน์

                   จึงประกอบด้วยค าถามพื้นฐานสามด้าน คือ  1) ค าถามด้านภววิทยา (The Ontological  Question)

                   เป็นการตั้งค าถามเกี่ยวกับรูปลักษณะ ลักษณะ หรือแบบ (Form) และธรรมชาติของความเป็นจริง

                   (Reality) ที่รับรู้ได้ หากมีความจริงสูงสุดด ารงอยู่  2) ค าถามด้านญาณวิทยา (The Epistemological
                   Question)  เป็นการตั้งค าถามเกี่ยวกับธรรมชาติของความสัมพันธ์ระหว่างผู้รู้ หรือผู้ต้องการรู้ กับสิ่งที่ถูกรู้

                   และ 3) ค าถามด้านวิธีวิทยา (The Methodological Question)  เป็นการตั้งค าถามเกี่ยวกับวิธีการใน
                   การแสวงหาความรู้  ว่าควรด าเนินการอย่างไร จึงจะสามารถรู้ในสิ่งที่ต้องการรู้ได้ (Guba. and Lincoln.

                   1994: 107-108)

                               แม้กระบวนทัศน์มีความหมายมากกว่าหนึ่ง แต่มักถูกใช้ในความหมายของวิธีคิด  วิธีปฏิบัติ
                   วิธีให้คุณค่าชุดหนึ่ง  ส าหรับรายวิชานี้  กระบวนทัศน์หมายถึงทัศนะหรือความคิดพื้นฐานในการมองโลก

                   มองชีวิตหรือโลกทัศน์ซึ่งเป็นตัวก าหนดหรือเป็นที่มาของวิธีคิด  วิธีปฏิบัติ  วิธีให้คุณค่า  การปรับเปลี่ยน






                                                        เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 3
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14