Page 12 - ED 211
P. 12
การศึกษาที่ถูกสร้างหรือถูกก าหนดขึ้น ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ๆ หรือในแต่ละยุคสมัย พร้อมทั้งเข้าใจถึง
กฎเกณฑ์ที่ก าหนดความหมายของการศึกษาดังกล่าว
กระบวนทัศน์ทางการศึกษา
กระแสของการปฏิรูปการศึกษาหลังประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 ท าให้มีชุดของข้อเสนอเพื่อรื้อ
การศึกษาแบบถอนรากถอนโคนหรือที่มักใช้ค าว่ากระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาถูกเผยแพร่ผ่านการ
แสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสัมมนา บทความและหนังสืออย่างต่อเนื่อง (วิชัย วงษ์ใหญ่. 2542,
ประเวศ วะสี. 2541, 2544ก, 2544ข, วราพร ศรีสุพรรณ. 2557, วิโรจน์ สารรัตนะ. 2556, ไพพรรณ
เกียรติโชติชัย. 2545, วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. 2552, วิจารณ์ พานิช. 2555) จนท าให้
กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากลายเป็นค าที่ติดตลาดในแวดวงนักการศึกษาและนักวิชาการที่สนใจ
การศึกษา โดยกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาถูกใช้ในความหมายของชุดความคิดใหม่ ซึ่งครอบคลุมทั้ง
การนิยามความหมายของการศึกษา เป้าหมายของการศึกษา หลักสูตร บทบาทของครู การจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ การน านวัตกรรมมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ฯลฯ และในหลายกรณีถูกน ามาใช้ในความหมาย
เดียวกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21
เนื่องจากทัศนะในเรื่องความรู้ของมนุษย์ เช่น ความรู้มีลักษณะหรือธรรมชาติอย่างไร
มนุษย์ได้ความรู้มาอย่างไร เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินว่าสิ่งใดเป็นความรู้ที่ถูกต้องหรือเป็นความจริง มี
ความสัมพันธ์กับทัศนะเกี่ยวกับปัญหาเรื่องธรรมชาติของมนุษย์และของโลก รายวิชานี้จึงนิยามกระบวน
ทัศน์ทางการศึกษา ว่าหมายถึง ทัศนะในเรื่องความรู้และกระบวนการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับทัศนะในการมอง
โลก มองชีวิต ท าให้การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางการศึกษาใช้เวลายาวนาน หรือเป็นเรื่องของ
ช่วงเวลาหรือยุคสมัย ดังจะเห็นได้จากงานเรื่องวิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งวิจารณ์
พานิช (2555) อ้างหนังสือ 21st Century Skills: Learning for Life in Our Times ที่เสนอว่าเป้าหมาย
ของการศึกษาในยุคเกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรม และยุคปัจจุบันที่เรียกว่า ยุคความรู้ มีความแตกต่างกัน
ใน 4 บทบาท ได้แก่ บทบาทเพื่อการท างานและเพื่อสังคม บทบาทเพื่อฝึกฝนสติปัญญาของตน บทบาท
เพื่อท าหน้าที่พลเมือง และบทบาทเพื่อสืบทอดจารีตและคุณค่า (ดูรายละเอียดในตารางที่ 1) เมื่อ
พิจารณาเป้าหมายของการศึกษาในแต่ละยุคสมัยจะเห็นได้ว่ามีความสัมพันธ์กับทัศนะในการมองโลก มอง
ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงซึ่งมีผลให้ทัศนะในการมองความรู้และกระบวนการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงไปด้วย
กล่าวคือ ในยุคเกษตรกรรม ความรู้มีความสัมพันธ์กับวิถีการด ารงชีวิต เพราะเป็นความรู้ในการปลูกพืช
เลี้ยงสัตว์ ผลิตอาหารส าหรับเลี้ยงสมาชิกในครอบครัวและคนอื่น ๆ ในชุมชน รวมทั้งความรู้ในการสร้าง
เครื่องมือเครื่องใช้ ส่วนทัศนะในการมองความรู้ในยุคอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงไปเพราะความรู้เป็นเรื่อง
ของวิชาการ ถูกจัดระบบอยู่ในรูปของศาสตร์ การศึกษาจึงไม่ได้มีบทบาทต่อเศรษฐกิจครัวเรือนเช่นในยุค
เอกสารประกอบการสอนรายวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา พรใจ ลี่ทองอิน | 6