Page 26 - วารสารสุขภาพ สำนักอนามัย ปีที่ 6 ฉบับที่ 1
P. 26

อาสาพาเที่ยว




                              เที่ยว ชมหอรัชมงคล

                                      สวนหลวง ร.9






                  หอรัชมงคลตั้งอยู่ในสวนหลวง ร.9 สถานที่ที่หลายคนเคยมาพักผ่อน
           ออกก�าลังกาย ชมสวนพฤกษศาสตร์ หรือเที่ยวชมงานพรรณไม้งามอร่าม

           สวนหลวง ร.9
                  หอรัชมงคลเป็นอาคารทรง 9 เหลี่ยม เป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น
           ที่สุดในสวนหลวง ร.9 สร้างขึ้นเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

           รัชกาลที่ 9 เนื่องในศุภมงคลสมัยทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ
           ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ด้านหน้าหอรัชมงคล คืออุทยานมหาราช
           มีสระน�้าพุขนาดใหญ่สามสระต่อกัน ด้านหลังคือตระพังแก้วซึ่งเป็นอ่างเก็บน�้า
           ขุดขึ้นตามพระราชด�าริเพื่อให้เป็นที่รับน�้า บรรเทาปัญหาน�้าท่วม


                อาคารชั้นบนมีลักษณะเป็นระเบียง ระเบียงด้านนอกแบ่งออกเป็น 9 ห้อง ด้านหน้าของแต่ละห้องเป็นบานกระจก
           ทั้งแผ่น ตู้กระจกกว้าง 5 เมตร หมายถึงพระชนมพรรษา 5 รอบ เพื่อให้ผู้มาชมสามารถมองเห็นวัตถุและเนื้อหาที่จัด
           แสดงซึ่งจะเป็นพระราชจริยวัตรในด้านต่างๆ  พระราชกรณียกิจ  และของใช้
           ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9)

           ตั้งชื่อห้องจัดแสดงทั้ง 9 ห้อง ไว้คล้องจองกัน ได้แก่ ห้องพระราชประวัติ
           ฝีพระหัตถ์ฝากประชา กีฬาชื่นบาน งานดนตรี พระราชกรณียกิจ พิพิธกุศลทาน
           ถิ่นฐานพิทักษ์ บริรักษ์ชาวนาไร่ และโครงการในพระองค์ ซึ่งแต่ละห้องจัดแสดง

           เรื่องราวต่างๆ เช่น
                  ห้องพระราชประวัติ แสดงพระบรมฉายาลักษณ์ตั้งแต่ยัง
           ทรงพระเยาว์ พระราชชนก พระราชชนนี รัชกาลที่ 8 ภาพกับพระบรมวงศานุวงศ์

           และพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ฯลฯ



                                        ห้องฝีพระหัตถ์ฝากประชา แสดงผลงานทางศิลปะและทางช่าง
                                   ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีทั้งจิตรกรรมและประติมากรรม

                                   การถ่ายภาพนิ่ง การถ่ายภาพยนตร์ และงานประดิษฐ์ ส�าหรับจิตรกรรมฝีพระหัตถ์
                                   มีประมาณ 107 ภาพ มีทั้งแนวเหมือนจริง เอ็กซ์เพรสชันนิสต์ และนามธรรม ส่วน
                                   ด้านงานช่างทรงออกแบบและต่อเรือใบเอง โดยศึกษาจากต�าราและผู้รู้ ทรงใช้โรงไม้

                                   ในสวนจิตรลดาเป็นสถานที่ต่อเรือมาตั้งแต่ พ.ศ. 2507 เรือใบที่ทรงต่อขึ้นมีหลายประเภท
                                   ส�าหรับประเภทม้อธ (International Moth Class) พระราชทานชื่อว่า “มด”
                                   “ไมโครมด” และ“ซูเปอร์มด”


      26   วารสารสุขภาพ
           ส�านักอนามัย
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31