Page 6 - สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์-เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
P. 6

พระปรีชาสามารถในเชิงศิลปะของพระองค์ท่านนั้น พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า

               เจ้าอยู่หัวถึงกับตรัสไว้อย่างลึกซึ้ง เมื่อได้ทอดพระเนตร สถาปัตยกรรมพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนา

               รามวรวิหาร ที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง จนแล้ว

               เสร็จว่า “สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงเข้าไป นั่งอยู่ในหัวใจของพระองค์ท่านเสีย

               แล้ว” บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลายทั้งปวง ถวายพระสมัญญานามแด่พระองค์อย่างชื่นชมยกย่องว่า

               พระองค์เป็น “นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม”บรรดาสถาปนิกและช่างศิลปะต่างๆ ผู้เป็นศิษย์นับถือพระองค์

               ท่านว่าเป็น “สมเด็จครู”ด้วยความสนพระทัย และความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการสร้างสรรค์ศิลปกรรมของ

               พระองค์ จึงทรงมีพระทัยอันกว้างขวาง ยอมรับทฤษฎีความรู้ ที่ดีงาม ถูกต้อง และทันสมัยของศิลปกรรมฝ่าย

               ตะวันตก ทรงพบปะเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนวิชาความรู้ และทรงงานร่วมกับศิลปินและช่างชาวต่างประเทศ
               ทั้งจิตรกร ประติมากร สถาปนิก และวิศวกร เช่น นาย ฟอร์โน สถาปนิก ชาวอิตาเลียน นาย ซี. ริโกลิ จิตรกร


               ชาวอิตาเลียน ผู้เขียนภาพพระราช-ประวัติรัชกาลต่างๆ บนผนังเพดานโดมพระที่นั่งอนันตสมาคม และภาพ
               อื่นๆ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ตลอดจนที่พระอุโบสถวัดราชาธิวาสวรวิหาร อันเป็นสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่

               อีกชิ้นหนึ่งของพระองค์ หรือนายมันเฟรดี วิศวกรที่เปลี่ยนสัญชาติเป็นไทยในภายหลัง ก็เคยร่วมงานกับ

               พระองค์ โดยเฉพาะ ประติมากรชาวอิตาเลียน คือ นาย ซี. เฟโรจี (ต่อมาโอนสัญชาติเป็นไทย และเปลี่ยนชื่อ

               เป็น นายศิลป์ พีระศรี หรือศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ในปัจจุบัน)
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11