Page 8 - สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์-เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
P. 8

มหาวิทยาลัยศิลปากร มีก าเนิดที่มาโดยรากลึกที่สุดคือ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระองค์

               ผู้ตัดสินพระทัยเลือกและสนับสนุนให้ นาย ซี. เฟโรจี (Prof. Corrado Feroci) ประติมากรผู้มีชื่อเสียงของ

               นครฟลอเรนซ์ แห่งอิตาลี มาเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ทฤษฎีศิลปะตะวันตก และพัฒนาฝีมือให้แก่ช่างชาว

               สยามในศิลปากรสถานที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเคยก ากับงานอยู่ จนต่อมาได้ก่อ

               เกิดโรงเรียนประณีตศิลปกรรม เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนศิลปากร และเป็นมหาวิทยาลัย ศิลปากรในที่สุด

               ดังเช่นปัจจุบัน จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยศิลปากร จะน้อมร าลึกถึงสมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ
               เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ “นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม” และ “สมเด็จครู” ของเหล่าช่างศิลปะทุก


               แขนง ผู้มีพระคุณอย่างล้นเหลือต่อประชากรมหาวิทยาลัยศิลปากรทั้งหลายทั้งปวง โดยช่วงสัปดาห์ปลาย
               เดือนเมษายน มหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัด “งานวันนริศ” ขึ้นเป็นประจ าทุกปี เพื่อเผยแพร่ผลงานและพระ

               ปรีชาสามารถอันหลากหลายของพระองค์ ให้สมกับพระเกียรติยศ พระเกียรติคุณที่พระองค์ท่านทรงได้รับ

               การยกย่องให้เป็น “บุคคลส าคัญของโลก” จากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

               (UNESCO) เมื่อครั้งวาระครบ ๑๐๐ ปี พระชาตกาลของพระองค์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๖ และ ในวันที่ ๒๘

               เมษายน ปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ จะเป็นวาระครบรอบ ๑๕๐ ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า

               กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้ทรงมีคุณูปการต่อวงการศิลปะไทย
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13