Page 100 - สุขศึกษา พลศึกษา ม.ต้น
P. 100

100



                   จํานวนมากขึ้น แลวเดินทางเขาสูตอมน้ําลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปลอยเชื้อไปยังคนที่
                   ถูกกัด ทําใหคนนั้นเกิดอาการของโรคได
                       ระยะฟกตัว

                                 โดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แตที่พบบอยประมาณ 2-3 วัน
                       ระยะติดตอ

                                 ระยะไขสูงประมาณวันที่ 2-4 เปนระยะที่มีไวรัสอยูในกระแสเลือดมาก
                       อาการและอาการแสดง
                                 ผูปวยจะมีอาการไขสูงอยางฉับพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามรางกายและอาจมีอาการคันรวมดวย พบ

                   ตาแดง (conjunctiva injection) แตไมคอยพบจุดเลือดออกในตาขาว สวนใหญแลวในเด็กจะมีอาการไมรุนแรงเทาใน
                   ผูใหญ ในผูใหญอาการที่เดนชัดคืออาการปวดขอ ซึ่งอาจพบขออักเสบได สวนใหญจะเปนที่ขอเล็ก ๆ เชน ขอมือ

                   ขอเทา อาการปวดขอจะพบไดหลาย ๆ ขอ เปลี่ยนตําแหนงไปเรื่อย ๆ อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับขอ
                   ไมได อาการจะหายภายใน 1-12 สัปดาห ผูปวยบางรายอาจมีอาการปวดขอเกิดขึ้นไดอีกภายใน 2-3 สัปดาหตอมา
                   และบางรายอาการปวดขอจะอยูไดนานเปนเดือนหรือเปนป ไมพบผูปวยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก ซึ่งแตกตางจาก

                   โรคไขเลือดออก
                                 โรคนี้จะพบมากในฤดูฝน เมื่อประชากรยุงเพิ่มขึ้นและมีการติดเชื้อในยุงลายมากขึ้น พบโรคนี้

                   ไดในทุกกลุมอายุ ซึ่งตางจากไขเลือดออกและหัดเยอรมันที่สวนมากพบในผูอายุนอยกวา 15 ป ในประเทศไทยพบ
                   มีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา 6 ครั้ง ในป พ.ศ. 2531 ที่จังหวัดสุรินทร พ.ศ. 2534 ที่จังหวัดขอนแกนและ
                   ปราจีนบุรี ในป พ.ศ. 2536 มีการระบาด 3 ครั้ง ที่จังหวัดเลย นครศรีธรรมราช และหนองคาย และกลับมาระบาด

                   อีกในป พ.ศ. 2551
                                 การรักษา
                                 ไมมีการรักษาที่จําเพาะเจาะจง (specific treatment) การรักษาเปนการรักษาแบบประคับประคอง

                   (supportive treatment) เชน ใหยาลดอาการไข ปวดขอ และการพักผอน
                                 การปองกัน
                                 การปองกันที่ดีควรปฏิบัติเชนเดียวกับการปองกันโรคไขเลือดออก คือ ทําลายแหลงเพาะพันธุ

                   ยุงลาย และนอนกางมุง หรือนอนในหองที่มีมุงลวด หากตองออกไปในที่มียุงชุกชุม ควรทายากันยุงปองกันทุก

                   ครั้ง

                   โรคไขหวัดใหญและไขหวัดใหญสายพันธุใหม 2009
                       โรคไขหวัดใหญ
                                 โรคไขหวัดใหญ เปนโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อไวรัส พบไดทั้งเด็กและ

                   ผูใหญ สามารถติดตอกันไดงายจะมีอาการรุนแรงกวาโรคหวัดธรรมดา
                                 ผูปวยจะมีไขสูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกลามเนื้อ ออนเพลีย คัดจมูก น้ํามูกไหล ตาแดง ไอ จาม

                   บางรายอาจมีอาการคลื่นไส อาเจียน เบื่ออาหาร ทองเดิน และอาจมีโรคแทรกซอนได เชน หลอดลมอักเสบ
                   กลามเนื้อหัวใจอักเสบ ปวดบวม ตอมทอนซิลอักเสบ เปนตน ซึ่งภาวะแทรกซอนเหลานี้มักเกิดในเด็กเล็ก คน
                   สูงอายุ ผูปวยเบาหวาน คนที่สูบบุหรี่จัด หรือผูปวยที่เปนโรคปอดเรื้อรัง
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105