Page 64 - สุขศึกษา พลศึกษา ม.ต้น
P. 64

64





                   เรื่องที่  4  สุขภาพทางเพศ



                          “ความสุข”เปนสิ่งที่มนุษยทุกคนตองการไมเคยถูกจํากัดดวยเพศ วัย ชนชาติ

                   “สุขภาวะทางเพศ”ก็เปนเรื่องที่ทุกคนลวนตองการเชนกัน
                          แผนงานสรางเสริมภาวะทางเพศ โดยสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสรางเสริมสุขภาพ (สส.)และ
                   มูลนิธิสรางความเขาใจเรื่องสุขภาพผูหญิง (สคส.)ไดดําเนินงานผลักดันวาระการสรางสุขภาวะทางเพศขึ้นอยาง

                   ตอเนื่อง เพราะสุขภาวะทางเพศไมไดมีความหมายแคบๆแคเรื่องเพศสัมพันธแตมีความหมายลึกซึ้งและมิติที่กวาง
                   กวานั้น
                          เรื่องเพศจึงไมใชแคเรื่องของเนื้อตัวรางกายแตยังหมายถึงความรับผิดชอบการดูแลสุขภาพรางกายการ

                   สรางความสัมพันธที่ดีระหวางกันการเคารพสิทธิกันและกันและความเทาเทียม เพราะสังคมนั้นมีความ
                   หลากหลายทางเพศมากวาแคหญิงหรือชาย
                          ผูที่มีสุขภาวะทางเพศที่ดีก็จะปฏิบัติตอคนที่มีวิถีทางเพศแตกตางจากตัวเองดวยความเคารพไมวาจะเปน

                   สาวประเภทสองหรือหญิงรักหญิงชายรักชาย หรือผูที่รักสองเพศและยังปฏิบัติกับเพื่อคูรักหรือชายที่สําคัญคือมี
                   ความรับผิดชอบตอสังคมและตนเองในเรื่องการมีเพศสัมพันธที่ปลอดภัย

                          สังคมจําเปนตองลบความคิดทางลบวาเรื่องเพศเปนเรื่องเพศเปนเรื่องสกปรก อันตรายที่ตองหลีกใหหาง
                   แตความจริงเราจําเปนตองศึกษาเรียนรูใหเขาใจเพราะเรื่องเพศเปนสิ่งที่สามารถแสดงออกอยางอิสระมีความสุข
                   บนพื้นฐานของความปลอดภัยเพื่อดําเนินชีวิตไดอยางเปนสุข

                          แผนงานสรางเสริมสุขภาวะทางเพศไดจัดทําความรูสุขภาวะทางเพศในแตละชวงวัยไวเพราะแตละชวง
                   วัยก็จะมีความสนใจและความตองการตางกัน
                          ในวัยเด็กเปนชวงเวลาแหงการสรางพื้นฐานสุขภาวะทางเพศที่ดีได เด็กเล็ก อายุ 5-8 ป เริ่มรับรูไดถึง

                   บทบาททางเพศวาสังคมสรางใหหญิงชายมีความแตกตางกัน ดวยกิจกรรม ดวยการกําหนดกรอบ กฎเกณฑตางๆที่
                   ชายทําได หญิงทําไมได หญิงทําได ชายทําไมได ซึ่งขัดขวางพัฒนาการและสรางความเขาใจผิดๆใหเด็ก
                          วันแรกรุน อายุ 9-12 เปนชวงวัยที่ตองเตรียมความพรอมเพื่อกาวเขาสูวัยรุน ซึ่งชวงนี้เปนวัยแหงการ

                   เปลี่ยนแปลงการไดรับขอมูลที่ถูกตองและพรอมใช จึงเปนสิ่งที่ทําใหเด็กมีภูมิคุมกันที่จะเขาสูวัยรุนไดอยาง
                   สวยงามจําเปนตองเขาใจและอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นและเปดโอกาสใหเด็กรับผิดชอบในครอบครัวใหเด็ก

                   ไดตัดสินใจดวยตัวเองและรับผิดชอบผลที่จะตามมาไมใชตัดสินใจแทนทุกอยาง
                          เด็กวัยนี่เริ่มจะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ และความรูสึกทางเพศ ไมใชเรื่องผิดแตการใหขอมูลและ
                   ความรูที่ถูกตองเปนสิ่งจําเปนการตอบคําถามแบบตรงไปตรงมา เปดโอกาสใหเด็กไดเรียนรูในสิ่งที่เหมาะที่ควร

                   เปนเรื่องที่ควรสงเสริม
                          เมื่อกาวเขาสูวัยรุน ชวงอายุ 13-18 ป ชวงแหงการเปลี่ยนแปลงในทุกๆดาน จําเปนตองไดรับขอมูลเรื่อง

                   เพศอยางถูกตองและรอบดาน เพื่อใหเทาทันการเปลี่ยนแปลงของตัวเอง ทั้งดานกายใจและอารมณ
                          จําเปนตองสรางทักษะของเพศสัมพันธที่ปลอดภัยรวมไปกับความรับผิดชอบเพื่อใหสามารถแยกแยะได
                   วาเซ็กซไมใชแคเรื่องสนุกแตมีผลที่จะตามมาอีกมากมาย การใหความรูอยางตรงไปตรงมาไมทําใหเรื่องเซ็กซเปน

                   ความผิด ละอาย ทําใหเกิดเพศสัมพันธที่ปลอดภัยและมีความรับผิดชอบขึ้นได
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69