Page 197 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 197
196
เรื่องที่ 1 สารละลาย
1.1 สมบัติของสารละลาย และองค์ประกอบของสารละลาย
สมบัติของสารละลาย
เมื่อเติมตัวถูกละลายลงในตัวท าละลายจะได้สารละลายเกิดขึ้น ในนี้มีผลท าให้สมบัติทางกายภาพของ
ตัวท าละลายบริสุทธ์เปลี่ยนแปลงไป ความแตกต่างทางกายภาพของสารละลายกับตัวท าละลายบริสุทธิ์
เรียกว่า สมบัติคอลลิเกตีฟ สมบัติคอลลิเกตีฟขึ้นอยู่กับจ านวนอนุภาค หรือจ านวนโมเลกุลของตัวถูก
ละลายในสารละลาย ไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของตัวถูกละลายสารละลายที่มีสมบัติคอลลิเกตีฟต้องเป็น
สารละลายนอนอิเล็กโตรไลท์ ซึ่งไม่แตกตัวเป็นไอออนในสารละลาย และตัวถูกละลายต้องเป็นสารที่
ระเหยได้ยากสมบัติคอลลิเกตีฟของสารละลายเป็นสมบัติที่เกี่ยวข้องกับความดันไอ, จุดเดือด, จุดเยือก
แข็ง และความดันออสโมซิส ดังนี้
1. ความดันไอของสารละลายต ่ากว่าความดันไอของตัวท าละลายบริสุทธิ์
2. จุดเดือดของสารละลายสูงกว่าจุดเดือดของตัวท าละลายบริสุทธิ์
3. จุดเยือกแข็งของสารละลายต ่ากว่าจุดเยือกแข็งของตัวท าละลายบริสุทธิ์
4. แสดงความดันออสโมซิส
องค์ประกอบของสารละลาย
1. ตัวท าละลาย (solvent) หมายถึง สารที่มีความสามารถ ในการท าให้สารต่างๆ ละลายได้
โดยไม่ท าปฏิกิริยาเคมีกับสารนั้น
2. ตัวละลาย (solute) หมายถึง สารที่ถูกตัวท าละลายละลายให้กระจายออกไปทั่วในตัวท า
ละลายโดยไม่ท าปฏิกิริยาเคมีต่อกัน
1.2 ความสามารถในการละลายของสาร
ความสามารถในการละลายของสารชนิดหนึ่งในสารอีกชนิดหนึ่งนั้นสามารถหาได้จาก
อัตราส่วนระหว่างตัวถูกละลาย กับตัวท าละลาย หรือ อัตราส่วนระหว่างตัวถูกละลาย กับสารละลาย ใน
สภาวะที่สารละลายนั้นเป็นสารละลายอิ่มตัว ซึ่งสามารถบอกเป็นความหนาแน่นสูงสุดของสารละลาย
นั้นได้อีกด้วยซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น แรงระหว่างโมเลกุลของตัวท าละลายกับตัวถูก
ละลาย อุณหภูมิ ความดัน และปัจจัยอื่นๆ