Page 202 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 202

201





                            เกลือ (salt)   คุณสมบัติทั่วไปของเกลือ

                            1.  ส่วนมากมีลักษณะเป็นผลึกสีขาว เช่น  NaCl แต่มีหลายชนิดที่มีสี เช่น

                                  สีม่วง    ได้แก่     ด่างทับทิม(โปแตสเซียมเปอร์แมงกาเนต)  KMnO
                                                                                             4
                                  สีน ้าเงิน  ได้แก่     จุนสี(คอปเปอร์ซัลเฟต)         CuSO .5H O
                                                                                                2
                                                                                             4
                                  สีส้ม         ได้แก่     โปแตสเซียมโครเมต            KCr O
                                                                                           2 7
                                  สีเขียว       ได้แก่     ไอออน(II)ซัลเฟต             FeSO .7H O
                                                                                                2
                                                                                            4
                            2.  มีหลายรส เช่น
                                  รสเค็ม    ได้แก่     เกลือแกง(โซเดียมคลอไรด์)        NaCl

                                  รสฝาด     ได้แก่     สารส้ม K SO .Al (SO4) .24H O
                                                           2
                                                                        3
                                                                  2
                                                                            2
                                                               4
                                  รสขม      ได้แก่     โปแตสเซียมคลอไรด์ , แมกนีเซียมซัลเฟต  KCl, Mg SO .7H O
                                                                                                      2
                                                                                                  4
                            3. น าไฟฟ้าได้ (อิเล็กโตรไลท์ : electrolyte)
                            4. เมื่อละลายน ้า อาจแสดงสมบัติเป็นกรด เบส หรือ กลางก็ได้
                            5. ไม่กัดกร่อนแก้วและเซอรามิก

                            2.2  ความเป็นกรด – เบสของสาร

                            ความเป็นกรด-เบส ของสารเมื่อทดสอบกับกระดาษลิตมัส จะพบการเปลี่ยนแปลงดังนี้
                                1. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน ้าเงินเป็นสีแดง แต่สีแดงไม่เปลี่ยน สารมีคุณสมบัติเป็นกรด

                                2. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นสีน ้าเงิน แต่สีน ้าเงินไม่เปลี่ยน สารมีคุณสมบัติเป็นเบส

                                3. กระดาษลิตมัสทั้งสองสีไม่เปลี่ยนแปลง สารมีคุณสมบัติเป็นกลาง
                            ความเป็นกรด-เบส ของสารเมื่อทดสอบกับสารละลายฟีนอล์ฟทาลีน จะพบการเปลี่ยนแปลง

                            ดังนี้

                                1. สารละลายฟีนอล์ฟทาลีนเปลี่ยนสีเป็นสีชมพูม่วง สารนั้นมีสมบัติเป็นเบส

                                2. สารละลายฟีนอล์ฟทาลีนใสไม่มีสี สารนั้นอาจเป็นกรดหรือเป็นกลางก็ได้
                            ความเป็นกรด-เบส ของสารเมื่อทดสอบกับยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ จะพบการเปลี่ยนแปลงดังนี้

                                1. ค่า pH มีค่าน้อยกว่า 7 สารละลายเป็นกรด

                                2. ค่า pH มีค่ามากกว่า 7 สารละลายเป็นเบส
                                3. ค่า pH มีค่าเท่ากับ 7 สารละลายเป็นกลาง
   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207