Page 199 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 199
198
ต้น) เช่น สารละลายกลูโคสเข้มข้นร้อยละ 30 โดยมวลต่อปริมาตร หมายความว่า ใน
3
3
สารละลาย 100 cm มีกลูโคสละลายอยู่ 30 กรัม หรือในสารละลาย 100 dm มีกลูโคส
ละลายอยู่ 30 กิโลกรัม
3
2. โมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร หรือ โมลาริตี (mol/dm or Molarity)
เนื่องจาก 1 ลูกบาศก์เดซิเมตรมีค่าเท่ากับ 1 ลิตร จึงอนุโลมให้ใช้โมลต่อลิตร (mol/l) หรือ
เรียกว่า โมลาร์ (Molar) ใช้สัญลักษณ์ “M” หน่วยนี้บอกให้ทราบว่าในสารละลาย 1 dm มี
3
3
ตัวถูกละลายอยู่กี่โมล เช่น สารละลายโซเดียมคลอไรต์เข้มข้น 0.5 mol/dm (0.5 M)
หมายความว่าในสารละลาย 1 dm มีโซเดียมคลอไรต์ละลายอยู่ 0.5 mol
3
3. โมลต่อกิโลกรัมหรือโมแลลิตี (mol/kg molality) หน่วยนี้อาจเรียกว่า โมแลล (Molal)
ใช้สัญลักษณ์ “m” เป็นหน่วยความเข้มข้นที่บอกให้ทราบว่าในตัวท าละลาย 1 กิโลกรัม
(kg) มีตัวถูกละลาย ละลายอยู่กี่โมล เช่น สารละลายกลูโคสเข้มข้น 2 mol/kg หรือ 2 m
หมายความว่ามีกลูโคส 2 mol ละลายในน ้า 1 kg
หมายเหตุ สารละลายหนึ่งๆ ถ้าไม่ระบุชนิดของตัวท าละลาย แสดงว่ามีน ้าเป็นตัวท าละลาย
4. ส่วนในล้านส่วน (ppm) เป็นหน่วยความเข้มข้นที่บอกให้ทรายว่าในสารละลาย 1 ล้านส่วน
มีตัวถูกละลาย ละลายอยู่กี่ส่วน เช่น ในอากาศมีก๊าซคาร์บอนมอนออกไซต์ (CO) 0.1
ppm หมายความว่าในอากาศ 1 ล้านส่วน มี CO อยู่ 0.1 ส่วน (เช่น อากาศ 1 ล้านลูกบาศก์
เซ็นติเมตร มี CO 0.1 ลูกบาศก์เซนติเมตร)
5. เศษส่วนโมล (mole fraction) เป็นหน่วยที่แสดงสัดส่วนโดยจ านวนโมลของสารที่เป็น
องค์ประกอบในสารละลายต่อจ านวนโมลรวมของสารทุกชนิดในสารละลาย
1.5 การเตรียมสารละลาย
ส่วนมากในการทดลองทางเคมีมักใช้สารละลายที่เป็นของเหลว จึงนิยมเตรียมสารให้อยู่ในรูปของ
สารละลาย
1. เครื่องมือที่ใช้ในการเตรียมสารละลาย
1.1) เครื่องชั่งสาร นิยมใช้ชั่งน ้าหนักของสารที่เป็นของแข็ง และมีความละเอียดถึงทศนิยม
ต าแหน่งที่ 4
1.2) อุปกรณ์วัดปริมาตร ได้แก่ กระบอกตวง ปิเปต นิวเรต ขวดรูปชมพู่ และขวดวัดปริมาตร