Page 201 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 201

200




                     เรื่องที่ 2  กรด – เบส

                            2.1  ความหมายและสมบัติของกรด – เบส  และเกลือ
                            กรด (Acid)  คือ สารประกอบที่มีธาตุไฮโดรเจน(H)  เป็นองค์ประกอบ และอะตอมของ H

                     อะตอมให้โลหะ หรือ หมู่ธาตุที่เทียบเท่าโลหะที่ได้ และเมื่อกรดละลายน ้า จะแตกตัวให้ไฮโดรเจนอิ

                     ออน

                     คุณสมบัติของกรด
                            1.  มีธาตุไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ

                            2.  มีรสเปรี้ยว

                            3.  ท าปฏิกิริยากับโลหะ เช่น สังกะสี แมกนีเซียม ทองแดง ดีบุก และอะลูมิเนียม จะได้แก๊ส

                                ไฮโดรเจน
                            4.  ท าปฏิกิริยากับหินปูนซึ่งเป็นสารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนต หินปูนสึกกร่อน ได้แก๊ส

                                คาร์บอนไดออกไซด์ ท าให้น ้าปูนใสขุ่น

                            5.  เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน ้าเงินเป็นสีแดง
                            6.  ท าปฏิกิริยากับเบสได้เกลือและน ้า เช่น กรดเกลือท าปฏิกิริยากับโซดาแผดเผาหรือ

                                โซเดียมไฮดรอกไซด์ซึ่งเป็นเบส ได้เกลือโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกง

                            7.  สารละลายกรดทุกชนิดน าไฟฟ้าได้ดี เพราะกรดสามารถแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน
                            8.  กรดมีฤทธิ์ในการกัดกร่อนสารต่างๆได้โดยเฉพาะเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต ถ้ากรดถูกผิวหนัง

                                จะท าให้ผิวหนังไหม้ ปวดแสบปวดร้อน ถ้ากรดถูกเส้นใยของเสื้อผ้า เส้นใยจะถูกกัดกร่อน

                                ให้ไหม้ได้ นอกจากนี้กรดยังท าลายเนื้อไม้ กระดาษ และพลาสติกบางชนิดได้ด้วย

                            เบส (Base) คือ สารละลายน ้าแล้วแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-)  ออกมา เมื่อท า

                     ปฏิกิริยากับกรดจะได้เกลือกับน ้า หรือได้เกลืออย่างเดียว
                     คุณสมบัติของเบส

                            1.  เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน ้าเงิน

                            2.  ท าปฏิกิริยากับแอมโมเนียมไนเตรต จะให้แก๊สแอมโมเนีย มีกลิ่นฉุน
                            3.  ท าปฏิกิริยากับน ้ามันหรือไขมันได้สบู่

                            4.  ท าปฏิกิริยากับโลหะบางชนิด

                            5.  ลื่นคล้ายสบู่

                            6.  ท าปฏิกิริยากับกรดได้เกลือและน ้า เช่น สารละลายโซดาไฟ (โซเดียมไฮดรอกไซด์)  ท า
                                ปฏิกิริยากับกรดเกลือ (กรดไฮโดรคลอริก)  ได้เกลือโซเดียมคลอไรด์ หรือเกลือแกงที่ใช้

                                ปรุงอาหาร นอกจากนี้โซดาไฟยังสามารถท าปฏิกิริยากับกรดไขมัน ได้เกลือโซเดียมของ

                                กรดไขมัน หรือที่เรียกว่า สบู่
   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206