Page 229 - วิทยาศาสตร์ ม.ต้น
P. 229
228
- ผลิตภัณฑ์ส าหรับรถยนต์ เช่น น ้ามันเชื้อเพลิง น ้ามันเบรค น ้ามันเครื่อง น ้ายาล้างรถ น ้ายาขัดเงา เป็นต้น
2. ผลิตภัณฑ์สารเคมีทุกชนิดต้องมีฉลากและต้องอ่านฉลากก่อนใช้งานทุกครั้ง ผลิตภัณฑ์ที่เป็น
อันตรายควรต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง อ่านฉลากและท าตามวิธีใช้อย่างถูกต้องรอบคอบ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง ถ้าฉลากมีค าว่า “อันตราย (DANGER)”, “สารพิษ (POISON)”, “ค าเตือน (WARNING)”, หรือ
“ข้อควรระวัง (CAUTION)” โดยมีรายละเอียดอธิบายได้ดังนี้
- อันตราย (DANGER) แสดงให้เห็นว่าควรใช้ผลิตภัณฑ์ด้วยความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นเป็น
พิเศษ สารเคมีที่ไม่ได้ถูกท าให้เจือจาง เมื่อสัมผัสถูกกับตาหรือผิวหนังโดยไม่ได้ตั้งใจ อาจท าให้เนื้อเยื่อ
บริเวณนั้นถูกกัดท าลาย หรือสารบางอย่างอาจติดไฟได้ถ้าสัมผัสกับเปลวไฟ
- สารพิษ (POISON) คือ สารที่ท าให้เป็นอันตราย หรือ ท าให้เสียชีวิต ถ้าถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
ทางผิวหนัง รับประทาน หรือ สูดดม ค านี้เป็นเป็นข้อเตือนถึงอันตรายที่รุนแรงที่สุด
- เป็นพิษ (TOXIC) หมายถึง เป็นอันตราย ท าให้อวัยวะต่างๆท าหน้าที่ผิดปกติไป หรือ ท าให้
เสียชีวิตได้ ถ้าถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง รับประทาน หรือ สูดดม
- สารก่อความระคายเคือง (IRRITANT) หมายถึง สารที่ท าให้เกิดความระคายเคือง หรืออาการ
บวมต่อผิวหนัง ตา เยื่อบุ และระบบทางเดินหายใจ
- ติดไฟได้ (FLAMMABLE หรือ COMBUSTIBLE) หมายถึง สามารถติดไฟได้ง่าย และมี
แนวโน้มที่จะเผาไหม้ได้อย่างรวดเร็ว
- สารกัดกร่อน (CORROSIVE) หมายถึง สารเคมี หรือไอระเหยของสารเคมีนั้นสามารถท าให้
วัสดุถูกกัดกร่อน ผุ หรือสิ่งมีชีวิตถูกท าลายได้
3. เลือกซื้อผลิตภัณฑ์เท่าที่ต้องการใช้เท่านั้น อย่าซื้อสิ่งที่ไม่ต้องการใช้ เพราะเสมือนกับเป็น
การเก็บสารพิษไว้ใกล้ตัวโดยไม่จ าเป็น พยายามใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้หมดก่อนซื้อมาเพิ่ม ถ้ามีของ
ที่ไมจ าเป็นต้องใช้แล้วเหลืออยู่ ควรบริจาคให้กับผู้ที่ต้องการใช้ต่อไป หรือไม่ก็ควรเก็บและท าฉลากให้
ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฉลากใกล้หลุดหรือฉีกขาด และควรทิ้งผลิตภัณฑ์ที่เก่ามากๆ ซึ่งไม่ควรน ามาใช้
อีกต่อไป
4. เก็บให้ไกลจากเด็ก สารท าความสะอาด หรือ สารเคมีที่ใช้ภายในบ้านอาจท าให้เป็นอันตราย
ถึงแก่ชีวิต ควรเก็บในตู้ที่เด็กเอื้อมไม่ถึง อาจล็อคตู้ด้วยถ้าจ าเป็น สอนเด็กๆในบ้านให้ทราบถึงอันตราย
จากสารเคมี นอกจากนี้ ควรจดเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินไว้ใกล้กับโทรศัพท์ เบอร์โทรศัพท์เหล่านี้ ได้แก่
เบอร์รถพยาบาลหรือโรงพยาบาลที่ใกล้บ้าน สถานีดับเพลิง สถานีต ารวจ หน่วยงานที่ท าหน้าที่เกี่ยวกับ
การควบคุมสารพิษ และแพทย์ประจ าตัว
5. ไม่ควรเก็บสารเคมีปะปนกับอาหาร ทั้งนี้เนื่องจากสารเคมีอาจหกหรือมีไอระเหยท าให้
ปนเปื้อนกับอาหารได้ และเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์สารเคมีเสร็จแล้วควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง