Page 51 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 51
42
การท าแผนผังความคิด (Mind Map)
กฎของการท าแผนผังความคิด
1. เริ่มต้นด้วยภาพสีตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ ภาพ ๆ เดียวมีค่ากว่าค าพันค า ซ ้ายังช่วยให้
เกิดความคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มความจ ามากขึ้นด้วย ให้วางกระดาษตามแนวนอน
2. ใช้ภาพให้มากที่สุดในแผนผังความคิดของคุณ ตรงไหนที่ใช้ภาพได้ให้ใช้ก่อนค าหรือรหัส
เป็นการช่วยการท างานของสมอง ดึงดูดสายตาและช่วยจ า
3. ควรเขียนค าบรรจงตัวใหญ่ ๆ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ เพื่อที่ว่าเมื่อย้อนกลับมา
อ่านใหม่จะให้ภาพที่ชัดเจน สะดุดตาอ่านง่าย และเกิดผลกระทบต่อความคิดมากกว่า การใช้เวลาเพิ่มอีก
เล็กน้อยในการเขียนตัวให้ใหญ่อ่านง่ายชัดเจน จะช่วยให้เราสามารถประหยัดเวลาได้เมื่อย้อนกลับมาอ่าน
ใหม่อีกครั้ง
4. เขียนค าเหนือเส้นและแต่ละเส้นต้องเชื่อมต่อกับเส้นอื่น ๆ เพื่อให้แผนผังความคิดมีโครงสร้าง
พื้นฐานรองรับ
5. ค าควรมีลักษณะเป็น “หน่วย” เช่น ค าละเส้น เพราะจะช่วยให้แต่ละค าเชื่อมโยงกับค าอื่น ๆ ได้
อย่างอิสระเปิดทางให้แผนผังความคิดคล่องตัวและยืดหยุ่นมากขึ้น
6. ใช้สีให้ทั่วแผนผังความคิด เพราะสีช่วยยกระดับความจ าเพลินตา กระตุ้นสมองซีกขวา
7. เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ควรปล่อยให้หัวคิดมีอิสระมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
อย่ามัวแต่คิดว่าจะเขียนลงตรงไหนดี หรือว่าจะใส่หรือไม่ใส่อะไรลงไป เพราะล้วนแต่จะท าให้งานล่าช้าไป
อย่างน่าเสียดาย
หลักของแผนผังความคิด (Mind Map) คือ การฟื้นความจ าในทุกเรื่องที่หัวคิดนึกออกจาก
ศูนย์กลางความคิด สมองของคุณสามารถจะจุดประกายความคิดต่าง ๆ ได้เร็วกว่าที่มือคุณเขียนทัน คุณจึง
ต้องเขียนแบบไม่หยุดเลย เพราะถ้าคุณหยุด คุณจะสังเกตได้ว่าปากกาหรือดินสอของคุณยังคงขยุกขยิกต่อไป
บนหน้ากระดาษ ในช่วงที่คุณสังเกตเห็นนี้ก็อย่าปล่อยให้ผ่านไป จงรีบเขียนต่ออย่ากังวลถึงล าดับ หรือการ
จัดองค์ประกอบให้ดูดี เพราะในที่สุดมันก็จะลงตัวไปเอง หรือไม่อย่างนั้นค่อยมาจัดอีกครั้งในตอนท้ายเป็น
ครั้งสุดท้ายก็ย่อมได้