Page 72 - วชาปรบอากาศรถยนตรโปรเเกรม
P. 72
62
ปะทะ กับลมเย็นมากที่สุด (สอดเข้าให้ลึกที่สุดแต่อย่าให้ชนกับครีบหรือขดท่อของ อีวา
ปอเรเตอร์) นิยมใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบหน้าปัดกลมหรือแบบแท่งแก้วยาวประมาณ 1 ฟุต
14. ให้อ่านค่าเทอร์โมมิเตอร์ดังนี้
14.1 ค่าอุณหภูมิจากเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะแห้งและกระเปาะเปียก (ทา ง
อากาศเข้า)ตัวอย่างอ่านเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะแห้งได้ค่า 25 ซ และอ่านเทอร์โมมิเตอร์
กระเปาะเปียกได้ 20 ซ
14.2 ค่าอุณหภูมิจากเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะแห้ง (ทางลมเย็นออก) ตัวอย่าง
อ่านเทอร์โมมิเตอร์ได้ 6 ซ
15. น าค่าอุณหภูมิจากข้อ 14.1 มาหาค่าความชื้นสัมพัทธ์จากกราฟ ตัวอย่างจะ
ได้ความชื้นสัมพัทธ์ เท่ากับ 60 เปอร์เซ็นต์
16. หาค่าผลต่างของอุณหภูมิกระเปาะแห้งระหว่างทางอากาศเข้ากับทางลมเย็น
ออก โดยน าค่าอุณหภูมิกระเปาะแห้งของทางอากาศเข้าลบด้วยค่า อุณหภูมิกระเปาะ
แห้งของทางลมเย็นออกตัวอย่าง อุณหภูมิกระเปาะแห้ง ทางอากาศเข้าเท่ากับ 25 ซ
และอุณหภูมิกระเปาะแห้งทางลมเย็นออก เท่ากับ 6 ซ ซึ่งผลต่างเท่ากับ 19 ซ.
17. น ้าค่าความชื้นสัมพัทธ์จากข้อ 15 และค่าผลต่างอุณหภูมิกระเปาะแห้งจาก
ขั้นตอนที่ 16 มาหาจุดร่วมบนกราฟประสิทธิภาพมาตรฐานของระบบปรับอากาศรถยนต์
17.1 ถ้าจุดร่วมอยู่ในแนวเส้นทึบ แสดงว่าประสิทธิภาพระบบปรับอากาศ
รถยนต์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
17.2 ถ้าจุดร่วมอยู่เหนือเส้นทึบ แสดงว่าระบบปรับอากาศจะให้ความเย็น
จัดเกิน ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบปรับอากาศได้ เช่น เกิดเกล็ดน ้าแข็งอุดตัน ครีบ
อีวาปอเรเตอร์ขดท่ออีวาปอเรเตอร์รั่วได้ง่าย แต่มีข้อดีอยู่บ้างในกรณีที่เปิดระบบปรับ
อากาศใช้งานสามารถเปิดสวิตช์พัดลมและสวิตซ์เทอร์มอสแตต ให้อยู่ในต าแหน่งต ่าหรือ
ปานกลาง ซึ่งเป็นการยืดอายุการใช้งานของระบบปรับอากาศได้ทางหนึ่ง
17.3 ถ้าจุดร่วมอยู่ต ่ากว่าเส้นทึบ แสดงว่า ระบบปรับอากาศไม่ค่อยเย็น
ผลต่างอุณหภูมิกระเปาะแห้ง อากาศเข้าลมเย็นออก