Page 36 - แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าปี 60
P. 36

การเฝ้าระวัง


                                                                   โรคพิษสุนัขบ้า









               ระบบข้อมูลเฝ้าระวังโรค
                        การเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าแบ่งออกเป็นการเฝ้าระวังโรคในคนและการเฝ้าระวังโรคในสัตว์

               ซึ่งประเทศไทยมีการรายงานข้อมูลโรคพิษสุนัขบ้าผ่านระบบสารสนเทศเพื่อการเฝ้าระวังโรค 4 ระบบ ได้แก่
                        1. ระบบรายงานผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า (ร.36) เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลแบบ Web base application

               ที่สามารถจัดเก็บ รวบรวม ประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูล จัดท�ารายงานได้อย่างเป็นระบบ สามารถน�าไปใช้ประโยชน์
               ได้หลายด้าน ได้แก่
                          -  ใช้ดูสถิติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ข้อมูลและปัจจัยต่างๆ ของการสัมผัสโรคตั้งแต่

               ระดับประเทศจนถึงระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�าบล
                          -  ใช้ประเมินความเสี่ยงในพื้นที่เพื่อระมัดระวังการน�าสัตว์มาจากพื้นที่เสี่ยง โดยสามารถดูข้อมูล

               พื้นที่สัมผัสโรคได้ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ใกล้เคียง
                          -  ค�านวณวันที่ต้องมารับวัคซีนได้อย่างอัตโนมัติ และจ�าท�าการเตือนล่วงหน้าบนจอก่อนนัด 3 วัน
               ท�าให้สถานบริการสามารถเตรียมวัคซีนและติดตามคนไข้ได้ถูกต้อง ครบถ้วน

                          -  การเก็บข้อมูลโดยใช้เลขบัตรประจ�าตัวประชาชน ท�าให้สามารถค้นหาประวัติการฉีดวัคซีนป้องกัน
               โรคพิษสุนัขบ้าได้ หากมีการบันทึกไว้ในระบบแล้ว การรับวัคซีนของผู้สัมผัสโรคจะไม่ซ�้าซ้อน หรือใช้เกินความจ�าเป็น
               และลดการใช้ RIG ช่วยลดงบประมาณและความสูญเสียจากการใช้วัคซีนลงได้

                        2. ระบบเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า (รง.506) เป็นระบบเฝ้าระวังด้วยบัตรรายงานผู้ป่วย รง.506
               โดยได้รับความร่วมมือจากส�านักงานสาธารณสุขจังหวัด ส�านักงานสาธารณสุขอ�าเภอ และโรงพยาบาลทุกแห่ง
               รายงานข้อมูลผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งการรายงานผู้ป่วยตามระบบเฝ้าระวังโรค รง.506 (Reporting

               Criteria) ให้รายงานผู้ป่วยตั้งแต่ “ผู้ป่วยที่เข้าข่าย (Probable case)” คือ ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก ร่วมกับ
               ประวัติคลุกคลี หรือถูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด ข่วน โดยไม่จ�าเป็นต้องรอผลตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ

                        3. ระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์การเกิดโรคพิษสุนัขบ้า (Event-based surveillance) โรคพิษสุนัขบ้า
               เป็นโรคที่มีความส�าคัญสูง (Priority diseases) ของประเทศไทย เนื่องจากเป็นโรคที่มีความรุนแรง มีอัตราตายสูง
               หรือแพร่กระจายได้รวดเร็ว อาจท�าให้มีผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจสูง ต้องการการรายงานทันทีเพื่อแจ้งเตือน

               รวมทั้งออกสอบสวนและควบคุมโรค ภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากได้รับแจ้งผู้ป่วย สงสัย/เหตุการณ์สงสัย โดยไม่
               ต้องรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยัน

                        4. ระบบสารสนเทศเพื่อการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า (Thai Rabies Net: TRN) ของกรมปศุสัตว์
               เป็นระบบเฝ้าระวังที่สามารถแจ้งข่าวการพบสัตว์สงสัยโรคพิษสุนัขบ้า รายงานผลการตรวจโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์
               และจัดเก็บข้อมูลการขึ้นทะเบียนสุนัข-แมว


                                                                                   แนวทางการดำาเนินงานป้องกันควบคุม  31
                                                                                         โรคพิษสุนัขบ้า
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41