Page 38 - แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าปี 60
P. 38
แนวทางการเฝ้าระวังและเตือนภัยโรคพิษสุนัขบ้า
ก่อนการระบาด
การเฝ้าระวังโรคของทีม SRRT เป็นการเฝ้าระวังเหตุการณ์ (Event-based surveillance) เน้นการรับรู้
ข่าวสารเหตุการณ์จากทุกแหล่งข้อมูลข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็นข่าวการพบผู้ถูกสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า
กัด-ข่วน ผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิตที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า รวมทั้งข้อมูลจากการเฝ้าระวังโรคในระบบรายงาน
(5 มิติ) ระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ ใช้ข่าวสารจากสรุปรายงานสถานการณ์หรือรายงานผู้ป่วย/ตายจากระบบรายงาน
โรคที่เกี่ยวข้องข่าวสารสาธารณะ และข่าวลือต่างๆ น�ามากรองข่าว ตรวจสอบ เพื่อให้ตรวจจับการป่วย/ตายที่
สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า สามารถแจ้งเตือนภัยเสนอผู้บริหาร บุคคล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทันเหตุการณ์
โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่เป็นปัญหาส�าคัญในพื้นที่ ไม่ควรมีผู้ป่วยแม้แต่รายเดียวในทุกพื้นที่ หากวิเคราะห์
สถานการณ์โรคพบว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการระบาดในพื้นที่ เช่น พบจ�านวนสัตว์ให้ผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้า
เป็นจ�านวนมาก (เปรียบเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง) ความครอบคลุมในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัข
บ้าในสัตว์ลดลง ประชาชามารับการฉีดวัคซีนหลังสัมผัสโรคเพิ่มขึ้น (ถูกสัตว์กัด-ข่วนมากขึ้น) เป็นต้น หรือมีรายงาน
ผู้ป่วย/ตายที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้าที่ผ่านการกรองข่าวแล้ว ต้องด�าเนินการแจ้งเตือน ส่งข่าว หรือรายงาน
เบื้องต้น เช่น บันทึกแจ้งผู้บริหาร/หัวหน้าหน่วยงาน/ผู้เกี่ยวข้อง การแจ้งทาง E-mail/line group ต่อจากนั้น
ท�าการประสานเครือข่ายเพื่อด�าเนินการสอบสวนควบคุมโรคทันที
การเฝ้าระวังโรคก่อนการระบาดประกอบด้วยการเฝ้าระวัง 2 รูปแบบ ได้แก่
- การเฝ้าระวังโรคในระบบรายงาน (Case-based surveillance) รวบรวมและวิเคราะห์ตาม
ระบบ 5 กลุ่มโรค 5 มิติ ซึ่งเป็นการได้รับข้อมูลที่เป็นทางการจากสถานพยาบาล (จ�านวนผู้มารับวัคซีนหลังถูกสัตว์
กัด พฤติกรรมการดูแลบาดแผล) หรือจากหน่วยงานปศุสัตว์ (จ�านวนสัตว์ที่พบผลบวกต่อโรคพิษสุนัขบ้า ความ
ครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในพื้นที่)
- การเฝ้าระวังเหตุการณ์ (Event-based surveillance) เป็นการเฝ้าระวังการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า
ที่ผิดปกติ จากทุกแหล่งข่าวทั้งที่เป็นทางการ สื่อมวลชน และข่าวลือ
เมื่อมีการรวบรวมข้อมูลข่าวสาร วิเคราะห์ กรองข่าว และพบว่ามีสัญญาณภัย ให้ตรวจสอบยืนยัน
เหตุการณ์และยกระดับการเตือนภัย เพื่อน�าไปสู่การตอบสนองทางสาธารณสุข ได้แก่ การสอบสวนโรค การสื่อสาร
ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ และการใช้มาตรการควบคุมโรคที่จ�าเพาะต่อไป
แนวทางการดำาเนินงานป้องกันควบคุม 33
โรคพิษสุนัขบ้า