Page 21 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 21
การรวมชาติและการขยายตัว
ในป ี พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีศุภอักษรไป
ยังสมเด็จพระนารายณ์ราชา เจ้ากรุงเขมร โดยให้ส่งเครื่อง
ราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี แต่สมเด็จพระนารายณ์
ราชาปฏิเสธ พระองค์ทรงขัดเคืองจึงให้จัดเตรียมกองกําลัง
ไปตีเมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง อันเป็นช่วงเวลา
เดียวกับที่พระองค์ได้ส่งพระยาจักรีนํากองทัพไปปราบเจ้า
เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อทรงทราบข่าวทัพพระยาจักรีไป
ติดขัดที่ไชยา จึงทรงส่งทัพหลวงไปช่วย จนตีเมือง
นครศรีธรรมราชได้เมื่อเดือน 10 ฝ่ายแม่ทัพธนบุรีในเขมร
ไม่ได้ข่าวพระเจ้าแผ่นดินมานาน จึงเกรงว่าบ้านเมืองจะไม่
สงบ รีบยกกองทัพกลับบ้านเมืองเสียก่อน และทําให้การ
โจมตีเขมรถูกระงับเอาไว้
ในปี พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกกองทัพขึ้น
ไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง โดยตีได้เมืองพิษณุโลก และตาม
ไปตีชุมนุมเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรีได้ และทรงประทับ ณ
เมืองสวางคบุรี เพื่อสมโภชการสําเร็จศึก และจัดการการ
ปกครองและคณะสงฆ์หัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่ตลอดฤดูนํ้า 2
เดือนเศษ ซึ่งนับเป็นชุมนุมอิสระสุดท้ายหลังเสียกรุงศรี
อยุธยาครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้า
พระฝางได้นั้น นับเป็นการพระราชสงครามสุดท้ายที่ ทําให้
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงบรรลุพระราชภารกิจสําคัญ ใน
การรวบรวมพระราชอาณาเขตให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียว
ดังเดิมหลังภาวะจลาจลเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ในปี พ.ศ.
2310 และทําให้สิ้นสุดสภาพจลาจลการแยกชุมนุมอิสระ
ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง และนับเป็นการ
สถาปนากรุงธนบุรีได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ เมื่อสําเร็จศึก
ปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝาง ในปี พ.ศ. 2313