Page 22 - ประวัติศาสตร์ไทย
P. 22

การศึกษา




                สมัยกรุงธนบุรีเป็นระยะเวลาที่บ้านเมืองยังไม่สงบเรียบร้อย


                การฟื้นฟูการศึกษาจึงทําได้ไม่มากนัก แต่วัดก็ยังเป็นแหล่งที่


                ให้การศึกษาอยู่ โดยมีแต่เด็กผู้ชายเท่านั้นที่มีโอกาสศึกษา



                เพราะต้องอยู่กับพระที่วัดเรียนหนังสือและได้รับการอบรม


                ความประพฤติ เรียนพระธรรม ภาษาบาลีสันสกฤต และศัพท์


                เขมร เพื่อประโยชน์ในการอ่านคัมภีร์พระพุทธศาสนา


                นอกจากนี้มีวิชาเลข เน้นมาตรา ชั่ง ตวง วัด มาตราเงินไทย


                และการคิดหน้าไม้ ซึ่งจะต้องนําไปใช้ในชีวิตประจําวัน มี


                วิชาช่างฝีมือสําหรับเด็กโต ส่วนใหญ่เกี่ยวกับงานช่าง



                ก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ในการบูรณะซ่อมแซมเสนาสนะ และ


                สิ่งก่อสร้างภายในวัด สําหรับการเรียนวิชาชีพโดยตรงนั้น


                เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ใครมีอาชีพอะไรก็ถ่ายทอดวิชานั้นๆ


                ให้แก่ลูกหลานของตนตามสายตระกูล เช่น วิชาแพทย์แผน



                โบราณ วิชาช่างปั้น ช่างถม ช่างแกะสลัก ช่างปูนปั้น


                ช่างเหล็ก ช่างเงิน ช่างทอง ส่วนการศึกษาสําหรับเด็กหญิง จะ


                ถือตามประเพณีโบราณคือ เรียนเย็บปักถักร้อย ทํากับข้าว


                การจัดบ้านเรือน การฝึกอบรมมารยาทของกุลสตรี สังคม


                สมัยนั้นไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือ จึงมีน้อยคนที่อ่าน


                ออกเขียนได้



                                                 วัฒนธรรม




                รัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแม้จะไม่ยาวนาน


                นักได้ฟื้นฟูปรับปรุงบ้านเมืองในด้านวัฒนธรรมอย่างมาก


                เช่น ด้านศาสนาได้แต่งตั้งพระสังฆราช ด้านศิลปะผลงานไม่


                เด่นชัด ด้านการศึกษาเด็กผู้ชายจะมีโอกาสได้เรียนเท่านั้น
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27